สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 162 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ระหว่างการส่งทูตไปจีน ที่กรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงท� ำบุญครั้งใหญ่ตั้งแต่เข้าพรรษา ครึ่งเดือน มีการเย็บจีวร ๔๓๓ ผืน และสบง ๗,๐๐๐ ผืน มีพระสงฆ์ร่วมเย็บท� ำบุญด้วย แล้วพระราชทาน ให้เจ้านายและขุนนางไปทอดพระกฐินทั่วกรุงเก่าไม่เว้นสักวัดเดียว และในเดือน ๑๐ เดือน ๑๑ (ระหว่าง กลางเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนตุลาคม) ก็ทรงพระราชทานเงินแก่คนยากจนและข้าราชการน้อยใหญ่ เป็นอันมาก ๖๑ การท� ำบุญเป็นบุคลิกภาพที่ส� ำคัญประการหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเป็นเรื่องที่ พระองค์ทรงเชื่อ อีกทั้งอาจจะเป็นการรู้อนาคตของพระองค์เองในไม่ช้า กลับไปกล่าวถึงการเดินทางของคณะราชทูตมากรุงธนบุรี ซึ่งค่อนข้างจะเป็นปัญหา หลักฐานจีน ก็มีปัญหาในเรื่องวันเวลาที่เนิ่นนานเกินพอดี ส่วนนิราศพระยามหานุภาพก็มีความสับสนเหมือนกันระหว่าง ไปกรุงปักกิ่งหรือมากรุงธนบุรี และไม่ปรากฏวัน เดือน ปี เหมือนกับในตอนต้นของนิราศ ดังนั้น จึงกล่าว ตามหนังสือของจงตกหมูอี้ที่มีมาถึงเจ้าพระยาพระคลัง (หนังสือฉบับที่ ๔) ที่กล่าวมาแล้ว ในหนังสือดังกล่าวได้ระบุว่า คณะราชทูตไทยกลับจากกรุงปักกิ่งถึงเมืองกว่างโจว เมื่อเดือน ๔ แรม ๓ ค�่ ำ ปีขาลจัตวาศก (ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๕)* จะเห็นได้ว่าเป็นเวลานานมากเกิน กว่าปี ไม่ปรากฏหลักฐานว่า การเดินทางมีอุปสรรคอย่างไร หรือจะคล้ายกับคณะราชทูตชุดสุดท้ายในต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ถูกพวกกบฏไต้เผ็ง (ไท่ผิง) ปล้น จงตกหมูอี้อธิบายว่า เมื่อคณะราชทูตไทยกลับมานั้น ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเปลี่ยน เป็นตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ไม่สามารถเดินทางกลับมาได้ ต้องคอยจนกว่าเดือน ๑๒ (ราวเดือนพฤศจิกายน) ลมจึงจะเปลี่ยนทิศเดินทางมาได้ แต่มีหลักฐานไทยเกี่ยวกับการเดินทางกลับของทูตชุดที่ ๒ ว่า ในราวเดือน ๘ แรก (กลางเดือนมิถุนายน-กลางเดือนกรกฎาคม) ของ พ.ศ. ๒๓๒๕ หลังจากการขึ้นครองราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ราว ๓ เดือน หลวงนายฤทธิ์ อุปทูตชุดที่ ๒ กลับถึงปากน�้ ำเมืองสมุทรปราการ ซึ่งเวลานี้ก็ดูดีส� ำหรับการเดินทางไปกลับจีน แต่เป็นไปได้ว่าทูตชุดที่ ๒ กลับมาก่อน ไม่รอทูตชุดที่ ๑ ๖๒ เป็นไปได้ว่า การเดินทางที่ใช้เวลานานผิดปรกติ ท� ำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินส่งทูตไปติดตาม เพราะหลักฐานจีนชิงสือลู่ได้กล่าวไว้ว่า “เจิ้งเจากษัตริย์เซียนหลัวทรงแต่งคณะทูตจ� ำทูลพระราชสาส์นเข้า ๖๑ พันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ, หน้า ๑๒๐. * เป็นปลาย พ.ศ. ๒๓๒๕ เพราะต่อมาอีก ๑๒ วัน (๒ เมษายน) ก็จะขึ้นศกใหม่เป็น พ.ศ. ๒๓๒๖ ในเวลานั้นก� ำหนดวันขึ้น ๑ ค�่ ำ เดือน ๕ เป็นวันขึ้นศกใหม่ จน พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน เพราะของเดิม ไม่แน่นอนเมื่อเทียบเป็นวันสุริยคติ ๖๒ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ (นครปฐม : นครปฐม การพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๒๓๓.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=