สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

159 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ วันแรม ๓ ค�่ ำ เดือน ๔ ปีขาล (ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๕* พร้อมพระราชสาส์น เครื่องราช- บรรณาการตอบแทน แล้วสมทบกับส่วนที่รอคอย “แต่นั่งตรอง นอนตรอมจนผอมไผ่” ๕๘ คือ กลุ่มที่รอที่ กว่างโจว รอจนผอม จักรพรรดิเฉียนหลงทรงมีพระราชสาส์นตอบสมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยไม่กล่าวถึงข้อความ ใน ๕ ข้อแรกในพระราชสาส์นของไทย แต่กล่าวถึงข้อความใน ข้อ ๖ และ ๗ ว่า “การขอซื้อเครื่องทองแดงซึ่งห้ามน� ำออกนอกราชอาณาจักรก็สมควร ปฏิเสธไป...ส่วนเรื่องที่ขออนุญาตน� ำสินค้าไปขายที่เมืองเซี่ยเหมินและหนิงปอ อีกทั้งขอให้... จัดหาไต้ก๋งเรือเพื่อไปขายสินค้าที่ญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่งนั้นนาฬิกา..ท� ำไม่ได้ เป็นอันขาด” ๕๙ พร้อมกันนี้ยังมีการตักเตือนสมเด็จพระเจ้าตากสินด้วยว่า “ประเทศท่านเพิ่งขออนุญาตเข้ามาถวายเครื่องราชบรรณาการ กลับ เห็นแต่ผลประโยชน์ทางการค้าเพื่อหวังผลก� ำไรถ่ายเดียว หาได้แสดงถึงความจงรัก ภักดีที่ท่านมีต่อราชส� ำนักจีนไม่ ฝ่ายเราเห็นว่าประเทศท่านอยู่ถึงต่างแดนอันไกลโพ้น คงไม่คุ้นเคยกับธรรมเนียมปฏิบัติของจีน จึงไม่ได้ต� ำหนิติเตียน เพียงแต่บอกกล่าว ตามความจริงให้ทราบไว้ ต่อไปควรจะมีความนบนอบอ่อนน้อมมากกว่านี้ และปฏิบัติ ตามกฎระเบียบของขุนนางอย่างเคร่งครัด จะละเมิดมิได้” ๖๐ โดยหลักฐานนี้ แสดงให้เห็นว่าพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการตามธรรมเนียมและของ ก� ำนัลนอกเครื่องราชบรรณาการ โดยเฉพาะข้อ ๖, ๗ ได้น� ำถวายจักรพรรดิเฉียนหลง แต่เรื่องบอกกล่าวหรือ ฟ้องจีนรวมทั้งเรื่อง “จะขอลูกสาวพระเจ้ากรุงปักกิ่ง” จีนไม่กล่าวถึง แต่สามารถกล่าวได้ว่าพระราชสาส์น ของสมเด็จพระเจ้าตากสินที่มีอยู่แสดงให้เห็นบุคลิกภาพของพระองค์ได้อย่างดี คือ มีชั้นเชิงทางการทูต * จดหมายของจงตกหมูอี้ถึงเจ้าพระยาพระคลัง แต่วันเวลานี้น่าสงสัยว่าจะผิด เพราะนานเกินไป คือเป็นเวลาถึงปีเศษ น่าจะเป็นปลายปี ๒๓๒๔ ตามการนับของไทย ๕๘ “นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน,” ใน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ , หน้า ๒๓๘. ๕๙ ส� ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ชิงสือลู่ (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๑๓๗) วันที่ ๗ กันยายน ค.ศ. ๑๗๘๑/พ.ศ. ๒๓๒๔ และ (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๑๔๐) วันที่ ๑๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๘๑/พ.ศ. ๒๓๒๔. ๖๐ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๑๓๗) วันที่ ๗ กันยายน ค.ศ. ๑๗๘๑/พ.ศ. ๒๓๒๔.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=