สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

153 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ และขออาสาช่วยจีนไปตีอังวะด้วย พร้อมกับขอซื้อก� ำมะถัน กระทะเหล็ก และปืนใหญ่ แต่ทางการจีนอนุญาต ให้ซื้อก� ำมะถันและกระทะเหล็กได้ แต่ไม่อนุญาตให้ซื้อปืนใหญ่ ส่วนเรื่องไทยขออาสาไปช่วยรบพม่านั้น จักรพรรดิเฉียนหลงรับสั่งว่า “ประเทศจีนซึ่งอยู่ในสภาพรุ่งเรืองสูงสุดในปัจจุบันนี้ ถ้าหากประสงค์จะไป ปราบปรามเหมี่ยนเตี้ยน มีความจ� ำเป็นอะไรที่จะต้องไปอาศัยประเทศเล็กที่ดินแดนไกลโพ้นเล่า” ๔๗ ค� ำตอบ ส่วนนี้ถือได้ว่า เป็นการแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพของจักรพรรดิเฉียนหลง และความคิดเช่นนี้ยังปรากฏ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๒๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินเสนอว่าจะช่วยจีนรบกับอังวะอีก (พระราชสาส์นฝากไป กับเรือพ่อค้า) พร้อมกับขอซื้อก� ำมะถันอีก ๑๐๐ หาบ (๖,๐๐๐ กิโลกรัม) ๔๘ ซึ่งก็อนุญาตให้ซื้อตามที่ขอมา พ.ศ. ๒๓๒๐ เป็นปีที่มีความก้าวหน้ามากในความสัมพันธ์ไทย-จีน เพราะจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงยอมรับอีกครั้งถึงการเปลี่ยนราชวงศ์ในดินแดนโพ้นทะเล ว่าเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เฉพาะในเซียนหลัว (สยาม) และการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินส่งคนจีน คนหยุนหนาน และเชลยศึกพม่าให้จีนซึ่งจีนถือว่าเป็น การแสดง “ความนบนอบอย่างจริงใจ” ดังนั้น ถ้า “เจิ้งเจา...กราบบังคมทูลขอให้พระราชทานตราตั้งอีก ให้...กราบบังคมทูลเพื่อให้ทรงทราบโดยด่วน เพื่อด� ำเนินการพระราชทานตราตั้ง ซึ่งเป็นกุศโลบายผูกใจ ให้ยอมรับนับถือเรา” ๔๙ และกล่าวในเวลาต่อมาอีกว่า ถ้าเจิ้งเจา “จะขอให้พระราชทานตราตั้ง คงไม่จ� ำเป็นต้องยกเอาเหตุจะไปปราบเหมี่ยนเตี้ยนทรชนเป็นข้ออ้างแต่อย่างใดเลย” ๕๐ คือ จักรพรรดิ เฉียนหลงได้เปิดทางในการรับรองสมเด็จพระเจ้าตากสินโดยไม่มีข้ออ้างใด ๆ เพื่อการปฏิเสธแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบการเปิดทางในการรับรองพระองค์ แทนที่จะรีบด� ำเนิน การส่งทูต กลับถ่วงเวลาขอยืดเวลาการถวายเครื่องราชบรรณาการ และมีการฝากพระราชสาส์นไปกับเรือ สินค้า เรื่องนี้น่าจะเป็นบุคลิกภาพอย่างหนึ่งของพระองค์ คล้ายกับว่าไม่จ� ำเป็นต้องรีบร้อน เพราะพระองค์ ก็อยู่มาได้ถึง ๑๐ ปีแล้ว โดยที่จักรพรรดิเฉียนหลงไม่ได้รับรองพระองค์ ซึ่งจักรพรรดิเฉียนหลงก็ได้ผ่อน ปรนให้อีก พร้อมกับเตือน “จุนจีต้าเฉิน” หรือส� ำนักราชเลขาธิการ ที่ถวายความเห็นว่า ข้อความต� ำหนิ “ออกจะรุนแรงไป...เมื่อฝ่ายเขารู้จักยกย่องราชส� ำนักจีนก็น่าจะผ่อนปรนบ้าง คงไม่จ� ำเป็นต้องประณามจน เกินไปนัก เพียงแต่ต่อว่าต่อขานก็พอ” พร้อมกันนี้ก็แสดงความเห็นใจและตักเตือนสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า การผิดโบราณราชประเพณีอาจเป็นเพราะ “ท่านอยู่ที่ต่างประเทศเป็นเวลาเนิ่นนาน ไม่ทราบถึงระบบ โบราณราชประเพณี จึงจะไม่สืบสาวเอาความแต่อย่างใด” ๕๑ เพียงแต่ขอให้รอบคอบยิ่งขึ้น ๔๗ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๑๐๐) วันที่ ๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๕/พ.ศ. ๒๓๑๘. ๔๘ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๐๒๒) วันที่ ๑๘ มกราคม ค.ศ. ๑๗๗๗/พ.ศ. ๒๓๒๐; พันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ, หน้า ๑๑๖. ๔๙ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๐๓๖) วันที่ ๑๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๗๗๗/พ.ศ. ๒๓๒๐. ๕๐ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๐๓๗) วันที่ ๒๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๗๗๗/พ.ศ. ๒๓๒๐ เพราะตอนนี้พม่าได้ยอมถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้จีนแล้ว ๕๑ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๑๐๖๕) วันที่ ๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๘/พ.ศ. ๒๓๒๑

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=