สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปิยนาถ บุนนาค 9 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ บ้านเมือง เช่น การเตือนสติราษฎรให้สงวนข้าวไว้พอแก่การบริโภคตลอดปี การให้สิทธิแก่ราษฎร ทั้งผู้ใหญ่ ผู้หญิง และเด็กในการได้รับการป้องกันจากรัฐ รวมทั้งกรณีผู้ถูกลอบวางเพลิง การให้สิทธิเสรีภาพในการ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร การให้เสรีภาพในการฟ้องร้องถวายฎีกา และการผ่อนคลายจากระบบไพร่ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงด� ำเนินการปรับปรุงประเทศให้ ทันสมัยในด้านอื่น ๆ ได้แก่ การท� ำนุบ� ำรุงเศรษฐกิจอันเป็นผลสืบเนื่องจากการท� ำสนธิสัญญาทางไมตรี และพาณิชย์กับต่างประเทศโดยเริ่มจากสนธิสัญญาเบาว์ริง แม้สยามจะเสียประโยชน์ในเรื่องการเก็บภาษี โดยเฉพาะของสินค้าขาเข้า แต่การค้าขายกลับเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และข้าวได้กลายเป็นสินค้าส่งออก ที่ส� ำคัญเช่นเดียวกับดีบุก ไม้สัก และยาง ผลของการค้าที่เจริญเติบโตขึ้นดังกล่าวน� ำไปสู่การผลิตเงินเหรียญ ของสยามขึ้นเป็นครั้งแรก อันท� ำให้เงินหมุนเวียนคล่องตัวขึ้น พร้อมกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับเปลี่ยนทางกายภาพของกรุงเทพฯ เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจที่ก� ำลังเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพเป็นแบบตะวันตก มีการตัดถนนแบบใหม่ขึ้น รวมทั้งการสร้างอาคารต่าง ๆ ตามแบบตะวันตกด้วย วิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ บางส่วนเริ่ม “หันหลัง” ให้คลองและ “หันหน้า” สู่ถนนตามการค้าขายที่อยู่บน ตึกแถว ๒ ฝั่งถนนที่ตัดขึ้นใหม่ อย่างไรก็ดี ได้มีการก� ำหนดขอบเขตพื้นที่และระยะเวลาของชาวตะวันตก ที่จะซื้อหรือเช่าที่ดินเอาไว้ด้วย แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงมุ่งด� ำเนินนโยบายต่างประเทศและ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยเพื่อความอยู่รอดของสยามอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิอยู่นั้น พระองค์ ก็มิได้ทรงละเลยที่จะอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของสยามนับตั้งแต่การท� ำนุบ� ำรุงด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละคร และวรรณกรรม โดยเฉพาะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการช� ำระ และเขียนพงศาวดารขึ้นใหม่ และได้พระราชทานค� ำอธิบายเพิ่มเติมในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราช- หัตถเลขา ซึ่งน่าจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดส� ำนึกในความเป็นชาติที่มีเอกภาพในหมู่ราษฎรชาวสยามท่ามกลาง สถานการณ์ที่ถูกคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกโดยรอบด้านในขณะนั้น จากการศึกษาพระราชด� ำริและพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นว่าพระองค์ยังทรงด� ำเนินการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยในด้านอื่น ๆ อีกด้วย อาทิ ด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี การโทรคมนาคมสื่อสาร ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถและมีพระอัจฉริยภาพในแทบทุก ด้าน โดยเฉพาะย่างยิ่งการเป็นนักปกครอง ผู้วางรากฐานการด� ำเนินนโยบายต่างประเทศและการปรับปรุง ประเทศให้ทันสมัยในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารราชการแผ่นดิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=