สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 152 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ทรงเรียกนามสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า “พีหย่าซิน” หรือ พระยาสิน และมีพระราชโองการถึงพระยาราชา เศรษฐีญวน (ม่อซื่อหลิน) ว่า ถ้ามีเจตจ� ำนงจะช่วยกอบกู้บ้านเมืองให้กับเจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่อยู่ เมืองพุทไธมาศก็ให้ท� ำเอง ๔๔ จีนจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย นั่นคือทรงมีท่าทีที่ดีขึ้นต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน ท่าทีที่ดีขึ้นของจักรพรรดิเฉียนหลงมีขึ้นหลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินแสดงไมตรีจิตส่งตัว ชาวฟาน เป็นชาย ๘ คน หญิง ๔ คน ไปให้จีน โดยชายหลายคนเป็นชาว “ชิงไหม” หรือเชียงใหม่ (เวลานั้น อยู่ใต้อ� ำนาจของพม่า) อีกคนหนึ่งเป็นชาว “เหมี่ยนเตี้ยน” หรือพม่า ทางจีนตีความว่าสมเด็จพระเจ้าตากสิน แสดงความนบนอบต่อจีน อนึ่ง หลักฐานฉบับเดียวกันนี้มีขึ้นหลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปราบ พระยาราชาเศรษฐีญวนลงได้ ๕ วัน จักรพรรดิเฉียนหลงทรงกลับล� ำในเรื่องเป็นกบฏแย่งชิงราชสมบัติ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า “การแย่งชิงราชบัลลังก์และเปลี่ยนแซ่ (เปลี่ยนราชวงศ์) เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นนิตย์ อาทิ แซ่เฉิน แซ่ม่อ แซ่หลี (ราชวงศ์เจิ่น, หมัก และ เล ในเวียดนาม) แห่งอันหนาน (เวียดนาม) ก็เปลี่ยนกษัตริย์บ่อยครั้ง ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในเซียนหลัว (สยาม) แห่งเดียวเท่านั้น...” คือ การแย่ง ชิงราชสมบัติเป็นเรื่องที่เกิดในหลายที่เช่นเวียดนาม และจริง ๆ แล้วในจีนก็มีทั้งในแซ่ (ราชวงศ์) เดียวกัน และต่างราชวงศ์ “จึงไม่มีความจ� ำเป็นต้องยึดติดและยุ่งเกี่ยวกับสถานะดั้งเดิม” ดังนั้น “ต่อแต่นี้ไปหากทาง พีหย่าซินมิได้ส่งใครมาอีกก็แล้วไป แต่ถ้าหากได้แต่งทูตมาเพื่อขอให้พระราชทานตราตั้ง และประสงค์จะ ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อไป ก็ไม่จ� ำเป็นต้องยืนกรานปฏิเสธดังเช่นแต่ก่อน” ๔๕ นี่เป็นการเปลี่ยนท่าทีที่ดีมากของจักรพรรดิเฉียนหลงที่มีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในปีต่อมา (พ.ศ. ๒๓๑๕) เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินส่งพวกคนจีนและครอบครัวซึ่งเป็นชาวไห่เฟิง มณฑลกว่างตง ที่หลบหนีไปต่างประเทศทางทะเล คืนให้จีน คราวนี้จักรพรรดิเฉียนหลงได้ออกพระนามสมเด็จ พระเจ้าตากสินว่า เจิ้งเจา หรือ เจ้าแซ่เจิ้ง (หรือแซ่แต้ในส� ำเนียงแต้จิ๋ว) ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับสถานะ ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พร้อมกับรับสั่งว่า “จะพิจารณาชมเชยให้ก� ำลังใจเพื่อเป็นน�้ ำใจไมตรี และ คงจะด� ำเนินการได้เพียงเท่านี้” ๔๖ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าใน พ.ศ. ๒๓๑๕ จักรพรรดิเฉียนหลงให้การยอมรับสถานะของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน แต่การรับรองโดยให้ตราตั้งยังไม่เกิดขึ้น ต่อมามีความก้าวหน้าที่น� ำไปสู่การรับรองมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ ใน พ.ศ. ๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้า ตากสินได้ส่งคนจากหยุนหนานรวม ๑๙ คน ให้กับจีน และมีหนังสือฝากไปกับพ่อค้าที่เดินเรือค้าขาย ๔๔ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๘๘๗) วันที่ ๒๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๗๗๐/พ.ศ. ๒๓๑๓. ๔๕ เรื่องเดียวกัน , (เกาจงสือลู่ บรรพ ๘๙๕) วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๗๑/พ.ศ. ๒๓๑๔ ความในวงเล็บเติมโดยผู้เขียน. ๔๖ เรื่องเดียวกัน, (เกาจงสือลู่ บรรพ ๙๑๕) วันที่ ๒๓ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๒/พ.ศ. ๒๓๑๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=