สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

151 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ทรงคิดถึงว่าไทยกับพม่าก็เป็นศัตรูกัน ถ้าไทยช่วยจีนกระหนาบพม่า หรือช่วยสะกัดกั้นกษัตริย์พม่า คือ พระเจ้ามังระ ถ้าหลบหนีเข้าไปในไทย “จึงประสงค์จะให้จัดส่งหนังสือ แจ้งแก่ประเทศนั้น เพื่อโจมตีสกัด และจับกุมพร้อมกัน” ๔๐ แต่เพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นปกครองไทยแล้ว ซึ่งโลกทัศน์ของจักรพรรดิ เฉียนหลงถือว่าเป็นการแย่งชิงราชสมบัติ ดังนั้นการที่จะร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินจึงไม่เกิดขึ้น แต่ถึงกระนั้น โอกาสก็เกือบมี เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงสั่งให้ลิปูตาทั่งหรือเสนาบดีกระทรวง พิธีการ ซึ่งมีหน้าที่ในการติดต่อกับรัฐบรรณาการทั้งหลาย มีสาส์นถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า จีนจะยกทัพ ไปโจมตีอังวะ จะขอให้กองทัพจีนส่วนหนึ่งมาขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อยกไปกระหนาบกรุงอังวะ แต่สมเด็จ พระเจ้าตากสินก็ไม่ได้ทรงรีบร้อนหรือฉวยโอกาสที่จะเปิดความสัมพันธ์กับจีน โดยทรงเห็นว่าสถานการณ์ ของบ้านเมืองยังไม่พร้อม “ขัดสนด้วยเข้าปลาอาหาร” ๔๑ จึงปฏิเสธ การร่วมมือช่วยเหลือจีนจึงยังไม่เกิดขึ้น ถึง พ.ศ. ๒๓๑๔ เมื่อรวบรวมประเทศได้แล้ว และภาวะอดอยากหมดไป อีกทั้งมีการเตรียมกองทัพไปตี พม่าที่ยึดครองเมืองเชียงใหม่อยู่ จึง “จให้มีศุภอักษรออกไปถึงลิปูตาทั่ง... ให้น� ำเอากราบบงงคมทูลแด่ สมเดจพระเจ้าต้าฉิงผู้ใหญ่*...ให้ยกกองทัพมาขึ้น ณ กรุงศรีอยุทธยา ๆ ก็จเกนกองทับยกไปกระท� ำแก่ กรุงอังวะ” ๔๒ แต่ความร่วมมือนี้คงไม่เกิดขึ้น ด้วยไม่ปรากฏหลักฐาน กระนั้นก็แสดงให้เห็นการด� ำเนิน นโยบายกับจักรพรรดิเฉียนหลงของสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ ระยะหลัง จักรพรรดิเฉียนหลงยอมรับและรับรองสมเด็จพระเจ้าตากสิน (พ.ศ. ๒๓๑๕- ๒๓๒๕) หลักฐานจีนแสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิเฉียนหลงติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยตลอดเวลา และ สั่งให้มีการรายงานอย่างรีบด่วนด้วย ทรงทราบดีว่า “รัชทายาทของตระกูลเจ้า (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) อาจ ตกต�่ ำอย่างที่สุดแล้ว แนวโน้มของสถานการณ์โดยรวมได้ถูกกันเอินซื่อครอบง� ำแล้วอย่างสิ้นเชิง เป็นเรื่อง ยากล� ำบากที่จะคาดหวังให้ฟื้นคืนขึ้นมาอีก” ๔๓ นั่นคือทรงเห็นว่าเจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวงไม่มีทางจะ กลับคืนสู่อ� ำนาจได้ และอ� ำนาจทั้งหมดอยู่ในมือของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ดังนั้นท่าทีของจักรพรรดิ เฉียนหลงจึงค่อยเปลี่ยนไป เพราะคงหวังประโยชน์จากราชวงศ์เดิมไม่ได้แล้ว โดยใน พ.ศ. ๒๓๑๓ ๔๐ ส� ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ชิงสือลู่ (เกาจงสือลู่ บรรพ ๘๔๙) วันที่ ๑๕ มกราคม ค.ศ. ๑๗๗๐/พ.ศ. ๒๓๑๓. ๔๑ “พระราชสาส์นกรุงธนบุรีถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต,” ลงวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๓ ค�่ ำ จ.ศ. ๑๑๓๓ (วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๔) ใน พระราชวิจารณ์จดหมายความทรงจ� ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) , หน้า ๕๔๕. *หมายถึงจักรพรรดิเฉียนหลง ต้าฉิง คือ ต้าชิง ชื่อราชวงศ์ของพวกแมนจูที่ปกครองจีน เรียกสั้น ๆ ว่า ราชวงศ์ชิง ๔๒ “พระราชสาส์นกรุงธนบุรีถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต,” ลงวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๓ ค�่ ำ จ.ศ. ๑๑๓๓ (วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๔) ใน พระราชวิจารณ์จดหมายความทรงจ� ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) , หน้า ๕๔๕. ๔๓ ส� ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ชิงสือลู่ (เกาจงสือลู่ บรรพ ๘๓๘) วันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๗๖๙/พ.ศ. ๒๓๑๒ ความในวงเล็บเติม โดยผู้เขียน.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=