สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 150 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 แต่กษัตริย์เขมรไม่ยินยอม ใน พ.ศ. ๒๓๑๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) คุมทัพไปตีเขมร ขณะพระองค์คุมทัพไปปราบก๊ก นครศรีธรรมราช แต่การโจมตีเขมรครั้งนี้ยังไม่ส� ำเร็จก็ถอนทัพกลับมาก่อน เพราะมีข่าวลือว่าสมเด็จ พระเจ้าตากสินสวรรคตที่เมืองนครศรีธรรมราช การที่ไทยโจมตีเขมรไม่ส� ำเร็จ ท� ำให้พระยาราชาเศรษฐีญวนคิดว่ากรุงธนบุรีอ่อนแอ จึงแต่ง กองทัพเรือมาโจมตีเมืองจันทบุรี และถ้าตีได้ก็จะมาโจมตีกรุงธนบุรีต่อไป แต่แผนการนี้ล้มเหลว ไม่สามารถ ตีเมืองจันทบุรีได้ จึงถอยทัพกลับไป หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินรวมประเทศได้ส� ำเร็จและหลังจากไปตีเชียงใหม่แล้ว ใน พ.ศ. ๒๓๑๔ จึงแต่งทัพไปตีเขมร มีเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพ ส่วนพระองค์คุมทัพเรือไปตีเมืองพุทไธมาศ โดยไปถึงในต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๔ และเพียง ๑๐ วัน นับแต่การยกพล หรือเพียง ๒ วัน ในการโจมตี ก็สามารถยึดเมืองพุทไธมาศได้ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๓๗ พระยาราชาเศรษฐีญวนหนีไปพึ่งญวน ฝ่ายไทย จึงจับได้แต่ลูกสาว ๒ คนของพระยาราชาเศรษฐีญวน และเจ้าจุ้ย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงประกาศ แก่แม่ทัพนายกองว่าอย่าไปจับกุมโบยตีหรือฆ่าไพร่พลเมืองทั้งที่เป็นคนจีนและญวนที่ไปมาค้าขายตาม ท้องถนน แต่ให้เกลี้ยกล่อมท� ำมาหากินตามภูมิล� ำเนาแต่ก่อน เพื่อให้การค้าขายท� ำเป็นปรกติ ใครละเมิด จะถูกลงโทษถึงสิ้นชีวิต ๓๘ และทรงแต่งตั้งพระยาพิพิธ ผู้ว่าราชการที่โกษาธิบดี ซึ่งเป็นจีนแต้จิ๋วชื่อ ตันเหลียง มีความเชี่ยวชาญทางการค้าชายทะเลตะวันออกเป็นพระยาราชาเศรษฐี ๓๙ หลักฐานไทยเรียกว่าพระยา ราชาเศรษฐีจีน จากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพไปร่วมตีเขมรซึ่งท� ำได้ส� ำเร็จ ทรงตั้งพระรามาธิบดี (นักองนน) น้องของพระนารายณ์ราชา (นักองตน) เป็นกษัตริย์เขมร ดังนั้นฝ่ายให้ข้อมูลต่อจีนที่เป็นการโจมตีสมเด็จพระเจ้าตากสินจึงถูกปราบลงได้ เหตุการณ์นี้ แสดงให้เห็นความเข้มแข็งขึ้นของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งมีผลให้จักรพรรดิเฉียนหลงมีท่าทีที่ดีขึ้นต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินด้วย เหตุการณ์ส� ำคัญอีกเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นตัวแปรในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนในสมัยนี้ คือ การสงครามระหว่างจีนกับพม่า (สงครามครั้งที่ ๕ สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง) ทางด้านมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) ซึ่งยืดเยื้ออยู่นานหลายปี และบางครั้งจีนก็เพลี่ยงพล�้ ำแก่พม่าด้วย ในเรื่องนี้จักรพรรดิเฉียนหลง ๓๗ Jeffery Sng and Pimpraphai Bisalputra, A History of the Thai – Chinese (Singapore: Editions Didiler Millet, 2015), p. 105 มีหลักฐานของไทยที่ให้รายละเอียดในสงครามครั้งนี้ ใน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ , หน้า ๑๘๑ – ๒๒๔ หรือใน ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๖. ๓๘ พันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ, หน้า ๑๙๓ – ๑๙๔. ๓๙ Jeffery Sng and Pimpraphai Bisalputra, A History of the Thai – Chinese, p. 106.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=