สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 148 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๓. ความสัมพันธ์ไทย-จีน สมัยธนบุรี การรับรู้เรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน สมัยธนบุรีส่วนใหญ่อาศัย “หลักฐานจีนชิงสือลู่” ๓๓ ส่วนหลักฐานไทยมีน้อยมาก แต่กระนั้นก็แสดงให้เห็นบุคลิกภาพของสมเด็จพระเจ้าตากสินได้พอควร ก่อนจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน สมัยธนบุรี ขอกล่าวถึงลักษณะส� ำคัญของความสัมพันธ์ ซึ่งมีทั้งทางการเมืองเกี่ยวกับความมั่นคงของไทย และเศรษฐกิจ จีนเป็นตลาดการค้าของพื้นเมืองของไทย คือ ของป่า รวมทั้งงาช้างและข้าว ไทยซื้อสินค้าจีน เช่น ใบชา เครื่องลายคราม ทั้งเพื่อน� ำมาใช้เองและ ขายต่อ ส� ำหรับสมัยธนบุรีไทยมีความต้องการสินค้าบางอย่างเป็นพิเศษ คือ ซื้อทองแดง ทองเหลือง เหล็ก เพื่อเป็นส่วนผสมในการหล่อปืนใหญ่ใช้ในการป้องกันบ้านเมือง และซื้อข้าวจากเมืองจีนในระยะแรกของ สมัยธนบุรีเพื่อมาแจกจ่ายราษฎร โดยมีพ่อค้าชาวจีนอพยพโดยเฉพาะพวกแต้จิ๋วเป็นผู้มีบทบาทส� ำคัญ ความสัมพันธ์ไทย-จีน สมัยธนบุรี แบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะ ระยะแรก จักรพรรดิเฉียนหลงปฏิเสธความสัมพันธ์ (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๑๕) เป็นระยะแห่ง ความมืดมนของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพราะมีอุปสรรคหลายด้าน คือ ทันทีที่พระองค์ขับไล่ข้าศึกออกจาก กรุงศรีอยุธยาได้ และตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี ก็ทรงขอตราตั้งจากจักรพรรดิเฉียนหลงทันที แต่ถูกปฏิเสธ และต� ำหนิอย่างรุนแรงว่า “กันเอินซื่อ (เจ้ าเมืองก� ำแพงเพชร-หมายถึงสมเด็จพระเจ้ าตากสิน) มีสถานภาพเป็นขุนนางของกษัตริย์แห่งประเทศเซียนหลัว (สยาม) บัดนี้ประเทศ นั้นถูก (พม่า) ตีแตก และกษัตริย์หายสาบสูญ กลับบังอาจฉกฉวยโอกาสที่ประเทศ อยู่ในอันตรายและปั่นป่วนยุ่งเหยิง คิดตั้งตนเป็นใหญ่ และหวังได้รับตราตั้งโดย มิชอบเพื่อเป็นเครื่องมือตั้งตนเหนือผู้อื่น มิได้ส� ำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและ น�้ ำพระทัยของเจ้านายเก่า อีกทั้งมิได้สืบหาองค์รัชทายาท เพื่อกอบกู้ชาติและโจมตี ศัตรู จึงเป็นการผิดคุณธรรมจริยธรรมและท� ำตนเกินศักดิ์...” ๓๔ และยังต� ำหนิว่า ๓๓ มีบทความสั้นๆ ๒ เรื่อง โดยใช้หลักฐานชิงสือลู่ ใน สุทธิพันธ์ ขุทรานนท์ (บรรณาธิการ), ปกิณกคดีประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๔ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๗), หน้า ๑๐๙–๑๒๕. ๓๔ ส� ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ชิงสือลู่ (เกาจงสือลู่ บรรพ ๘๑๗) วันที่ ๒๙ กันยายน ค.ศ. ๑๗๖๘/พ.ศ. ๒๓๑๑ ความในวงเล็บเติม โดยผู้เขียน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=