สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 146 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๒.๒ โลกทัศน์ของจักรพรรดิเฉียนหลง กล่าวได้ว่า โลกทัศน์ของจักรพรรดิเฉียนหลง เป็นส่วนประกอบของโลกทัศน์จีน ที่มองว่า ตนเองเป็นศูนย์กลางความเจริญของโลก หรือเป็นอาณาจักรกลาง (จงกว๋อ) กับโลกทัศน์ของแมนจูที่ต้องการ แผ่อ� ำนาจให้กว้างใหญ่ ดังนั้น ทุกชาติที่ติดต่อค้าขายกับจีนต้องถวายบรรณาการ (จิ้มก้อง หรือ จิ้นก้ง) เมื่อเข้าเฝ้าต้อง “โค่วโถว” หรือ เกาเตา คือ คุกเข่า ๓ ครั้ง แต่ละครั้งค� ำนับให้หน้าผากจรดพื้น ๓ ครั้ง รวมค� ำนับ ๙ ครั้ง ๒๙ หลักฐานที่ดีในเรื่องโลกทัศน์ของจักรพรรดิเฉียนหลง คือการที่อังกฤษสมัยพระเจ้าจอร์จที่ ๓ ส่งเอิร์ลแห่งแม็กคาร์ตนีย์ (หรือ ลอร์ดแม็กคาร์ตนีย์-Lord Macartney, ค.ศ. ๑๗๓๗-๑๘๐๖, พ.ศ. ๒๒๘๐- ๒๓๔๙) ไปจีนโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย เพื่อเจรจาขยายการค้าและเปิด ความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เมื่อเรือของลอร์ดแม็กคาร์ตนีย์เดินทางไปถึงหน้าเมืองเทียนจิน (เทียน สิน) ในเดือนกรกฎาคม ใน ค.ศ. ๑๗๙๓ (พ.ศ. ๒๓๓๖) ทางการจีนก็ไปต้อนรับโดยยกป้ายแขวนที่เรือของ ลอร์ดแม็กคาร์ตนีย์ว่า ราชทูตจากอังกฤษน� ำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย จักรพรรดิเฉียนหลงดีพระทัย เป็นพิเศษในการมาของทูตอังกฤษครั้งแรกนี้ โดยเข้าใจว่าเป็นการมาฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ ปี ของพระองค์ จึงก� ำชับให้เจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้การต้อนรับให้ดี ให้ค่าใช้จ่าย ๕,๐๐๐ ต� ำลึงจีน (taels) ใน การเดินทางเข้ากรุงปักกิ่ง ให้ค่าต้อนรับวันละ ๑,๕๐๐ ต� ำลึงจีน และให้พ� ำนักที่อุทยานหยวนหมิงที่สวยงาม ก่อนเดินทางไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิเฉียนหลงที่เมืองเร่อเหอ (Rehe ปัจจุบันคือเมืองเฉิงเต๋อ-Chengde) เมืองประทับในฤดูร้อนของจักรพรรดิราชวงศ์ชิงซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงปักกิ่ง ๓๐ ลอร์ดแม็กคาร์ตนีย์ได้รับค� ำบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่จีนว่า เมื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิจะต้องท� ำโค่วโถว แต่ลอร์ดแม็กคาร์ตนีย์ไม่ยินยอม เพราะถือว่าเป็นการเสื่อมเกียรติของกษัตริย์อังกฤษ จักรพรรดิ เฉียนหลงจึงผ่อนปรนให้เป็นพิเศษให้คุกเข่าข้างหนึ่ง ลอร์ดแม็กคาร์ตนีย์จึงได้เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการในวันฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา (๑๗ กันยายน) ท่ามกลางขุนนางชาวแมนจู ชาวจีนและข้าราชส� ำนัก จักรพรรดิเฉียนหลงพระราชทานของขวัญตอบทั้งแก่กษัตริย์อังกฤษและ ลอร์ดแม็กคาร์ตนีย์ ๒๙ ดูรายละเอียดใน วุฒิชัย มูลศิลป์, “ไม่ไปจิ้มก้อง : ไทยยุติความสัมพันธ์กับจีน สมัยรัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕, ” เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ ลงพิมพ์ใน วารสารราชบัณฑิตยสภา ๔๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๘). ๓๐ Immanuel C.Y. Hsu, The Rise of Modern China , pp. 156 - 157.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=