สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
145 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๒. โลกทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินกับจักรพรรดิเฉียนหลง ๒.๑ โลกทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน การกล่าวถึงโลกทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินยากจะสมบูรณ์ได้ เพราะหลักฐานมีจ� ำกัด และยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับหลักฐาน แต่ก็สามารถกล่าวได้ว่าโลกทัศน์ของพระองค์คงเป็นเฉกเช่นเดียว กับพระมหากษัตริย์ไทยที่ยิ่งใหญ่ในอดีต คือการสร้างความมั่นคงให้กับบ้านเมือง การท� ำนุบ� ำรุงพระพุทธ ศาสนา การท� ำให้ไพร่ฟ้าพลเมืองมีความสุข การป้องกันบ้านเมืองจากการรุกรานของข้าศึก มีพระราชด� ำรัส ที่ส� ำคัญเมื่อไปต้านทานและขับไล่พม่าที่บางแก้ว (หรือบางนางแก้ว) ใน พ.ศ. ๒๓๑๗ ซึ่งเป็นสงคราม ครั้งส� ำคัญมากเกี่ยวกับความอยู่รอดของบ้านเมือง แล้วมีทหารไทย-จีน ละเมิดค� ำสั่ง ที่ให้ยิงปืนพร้อมกัน ท� ำให้ข้าศึกรู้ตัว จึงสั่งลงโทษนายทหารและมีพระราชด� ำรัสว่า “อันท� ำการศึกครั้งนี้ พ่อจะชิงชังแก่ลูกผู้ใดหามิได้ รักใคร่เสมอกัน อันเป็นกษัตราธิราช จ้าวแผ่นดิน ถ้าผู้ใดมีความชอบ มิได้ปูนบ� ำเหน็จ ผู้ใดผิดมิได้เอาโทษ ท� ำฉะนี้ก็ไม่ควร แก่ราชการแผ่นดินหามิได้ อันประเวณีกษัตราธิราช ผู้ใดมีความชอบ ปูนบ� ำเหน็จรางวัล ให้รั้งเมือง ครองเมืองตามฐานานุกรมล� ำดับ ถ้าโทษผิดควรจะตีก็ตี ควรจะฆ่าก็ฆ่าเสีย จึ่งจะชอบด้วยราชการแผ่นดิน จะท� ำการสงครามกับพะม่าไปได้ แลพ่ออุตสาหะทรมาน เที่ยวท� ำสงครามมาทั้งนี้ ใช่จะจงพระทัยปรารถนาหาความสุขแต่พระองค์ผู้เดียวหามิได้ อุตสาหะสู้ยากล� ำบากพระกายทั้งนี้ เพื่อจะท� ำนุบ� ำรุงพระศาสนา ให้สมณะชีพราหมณ์ ประชาราษฎรเป็นสุขทั่วขอบขันธเสมา เพื่อจะมิให้มีคนอาสัจอาธรรม์...” ๒๗ เห็นได้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้ความส� ำคัญเบื้องแรกกับการท� ำนุบ� ำรุงพระพุทธ ศาสนา ไพร่ฟ้าพลเมืองมีความสุข และการปกครองที่เป็นธรรม ปูนบ� ำเหน็จตามความดีความชอบ เมื่อท� ำผิด ก็ลงโทษ ในครั้งนี้ทรงให้โอกาส “ท� ำราชการแก้ตัวครั้งหนึ่ง” โดยเอาลูกเมียมาจองจ� ำไว้ เมื่อ “มีชัยชนะ แล้วจึ่งจะพ้นโทษ” ๒๘ ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีชัยชนะอย่างงดงาม จับข้าศึกได้จ� ำนวนมาก ๒๗ พันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ, หน้า ๙๕. ๒๘ เรื่องเดียวกัน .
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=