สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 144 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 เหอเซินใช้อ� ำนาจและอิทธิพลที่เป็นคนโปรดของจักรพรรดิ แสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน อย่างเต็มที่ ขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างมาขอพึ่งโดยการติดสินบนเพื่อให้ได้ต� ำแหน่งและผลประโยชน์ ท� ำให้ เหอเซิน มั่งคั่งร�่ ำรวยอย่างมาก ขุนนางตงฉินรู้ถึงพฤติกรรมการฉ้อฉลของเหอเซิน แต่ก็ไม่มีใครกล้ากราบทูล การฉ้อราษฎร์บังหลวงจึงระบาดไปทั่ว จวบจน ค.ศ. ๑๗๙๙ (พ.ศ. ๒๓๔๒) เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงสวรรคต จักรพรรดิเจียชิ่งจึงสั่งจับเหอเซินทันที ให้เหอเซินฆ่าตัวตาย ๒๓ และริบทรัพย์สมบัติของเหอเซิน ซึ่งประมาณ ว่ามีมูลค่ามหาศาลรวม ๘๐๐ ล้านต� ำลึงจีน (tales) ๒๔ หรือประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเทียบได้ กับภาษีที่ดินที่เก็บภายในจักรวรรดิถึง ๒ ปี ๒๕ ความเสื่อมอ� ำนาจของจีนสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งอยู่ในช่วง ๒๐ ปีสุดท้ายของรัชสมัย ไม่ได้มีสาเหตุเฉพาะการฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ยังมีสาเหตุอื่นอยู่ด้วย คือ การสงครามท� ำให้ใช้เงินเป็นจ� ำนวน มาก การเพิ่มจ� ำนวนประชากร จากประมาณ ๑๒๗ ล้านคน ใน ค.ศ. ๑๗๒๙ (พ.ศ. ๒๒๗๒) เป็น ๒๗๕.๖ ล้านคนใน ค.ศ. ๑๗๙๖ (พ.ศ. ๒๓๓๙) โดยไม่ได้สัดส่วนกับการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกและไม่มีการปฏิวัติ ทางเกษตรกรรม ท� ำให้เกิดความอดอยาก ขาดแคลนอาหาร จนท� ำให้เกิดกบฏจากสมาคมลับหลายกลุ่ม ที่รุนแรงที่สุด คือ สมาคมลับบัวขาว (ค.ศ. ๑๗๙๖-๑๘๐๔, พ.ศ. ๒๓๓๙-๒๓๔๗) ๒๖ ถือได้ว่าเป็น การสิ้นสุดรัชสมัยด้วยการเสื่อมอ� ำนาจ และจีนเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว โดยมีการรุกรานจากมหาอ� ำนาจ ตะวันตกเป็นแรงเสริมในเวลาต่อมา ที่กล่าวมาจึงเห็นได้ว่า บุคลิกภาพซึ่งถูกหล่อหลอมตั้งแต่เริ่มแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และจักรพรรดิเฉียนหลง มีทั้งความแตกต่างและที่เหมือนกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินถือก� ำเนิดจากบุคคล สามัญ ได้รับการศึกษาอบรมเพียงเพื่อเป็นขุนนางที่ดี ส่วนจักรพรรดิเฉียนหลงได้รับการอบรมเพื่อเตรียมตัว เป็นจักรพรรดิที่ดี แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินต้องเป็นกษัตริย์ พระองค์ไม่เพียงกอบกู้เอกราชของบ้าน เมืองจากความหายนะอย่างใหญ่หลวง หากทรงท� ำให้เขตแดนกว้างใหญ่เหมือนสมัยอยุธยา เช่นเดียวกับ จักรพรรดิเฉียนหลงก็แผ่จักรวรรดิให้กว้างใหญ่ที่สุดเช่นกัน ทั้งสองพระองค์ต่างได้รับการยกย่องให้เป็น กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ๒๓ William T. Rowe, China Last Empire: The Great Qing , p. 154 ๒๔ นี่เป็นตัวเลขที่ใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์จีนหลายๆ เล่ม เช่นของ John E. Wills Jr, Immanuel C.Y. Hsu แต่ John K. Fairbank and Edwin O. Reischauer, East Asia: The Great Tradition, p. 392 ให้ตัวเลขเป็น ๙๐๐ ล้านต� ำลึงจีน ๒๕ John E. Wills, Jr., Mountain of Fame: Portraits in Chinese History (Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 1994), p. 257. ๒๖ Immanuel C.Y. Hsu, The Rise of Modern China, pp. 123 – 130.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=