สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

143 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ สงครามทั้งหลายท� ำให้อาณาเขตของจีนขยายเพิ่มขึ้นเป็นราว ๑๒ ล้านตารางกิโลเมตร (เทียบกับปัจจุบันประมาณ ๙.๖ ล้านตารางกิโลเมตร) ความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิเฉียนหลงไม่ได้มีเพียง การสงคราม แต่ยังขึ้นกับการปกครอง เป็นนักปราชญ์ ผู้อุปถัมภ์ทางวิชาการและศิลปะด้วย ทางการปกครอง ทรงตื่นแต่เช้าในเวลา ๖ นาฬิกา ช่วงเช้า ทรงงาน (อ่านรายงานที่ส่งขึ้นมา และว่าราชการ) เสวยเวลา ๘.๐๐ นาฬิกา ใช้เวลาเพียง ๑๕ นาที ๑๙ “มีกลุ่มขุนนางระดับสูงในองคมนตรีสภา (จุนจีฉู่) ราว ๑๐ คน หรือมากกว่า ผลัดเปลี่ยนเข้ามาท� ำหน้าที่ในเวลาเช้าตรู่” ขุนนางผู้หนึ่งบันทึกไว้ ว่าตนเอง “ก็ยังรู้สึกเมื่อยล้า กระนั้น จักรพรรดิก็ยังทรงงานได้ทุกวัน จนเวลาดึกดื่น” ๒๐ โดยมีบันทึก ค� ำแนะน� ำและส่งต่อไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยปรกติในเวลาช่วงบ่าย จักรพรรดิเฉียนหลงจะทรงใช้ เวลาอ่าน วาดรูป และแต่งบทกวี เสวยอีกครั้งเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นี่เป็นพระราชกิจรายวันของพระองค์ และทรงท� ำต่อเนื่องจนสวรรคต ในด้านความเป็นนักปราชญ์ จักรพรรดิเฉียนหลงทรงชื่นชมและโปรดปรานวรรณกรรม คลาสสิกของจีน โปรดให้รวบรวมผลงานเก่าแก่โดยให้นักปราชญ์ถึง ๑๕,๐๐๐ คน คัดลอกและพิมพ์เป็น หนังสือชื่อ ซื่อคู่ฉวนชู (Siku quanshu) หรือคลังวรรณกรรม ๔ สาขา คือ งานคลาสสิก, ประวัติศาสตร์, ปรัชญา และอักษรศาสตร์ มีความยาว ๓๖,๐๐๐ เล่ม เป็นสารานุกรมขนาดมหึมา (ปัจจุบันมีการพิมพ์ออก มาใหม่) ส่วนพระองค์ทรงแต่งโคลงกลอนประมาณ ๔๒,๐๐๐ บท ทรงโปรดปรานการวาดภาพ และให้สร้าง อุทยานหยวนหมิง (หยวนหมิงหยวน) ที่สวยงามมาก [อุทยานหยวนหมิงถูกกองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศส ปล้น และเผาใน ค.ศ. ๑๘๖๐ (พ.ศ. ๒๔๐๓) คราวสงครามฝิ่นครั้งที่ ๒] ความรุ่งเรืองทั้งหลายสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงเริ่มเสื่อมตั้งแต่ ค.ศ. ๑๗๗๕ (พ.ศ. ๒๓๑๘ ตรงกับปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ขณะมีพระชนมายุ๖๕ปี เมื่อทรงพบและเกิดความประทับใจ เหอเซิน (He Shen, ค.ศ. ๑๗๕๐-๑๗๙๙, พ.ศ. ๒๒๙๓-๒๓๔๒) ทหารกองธงชั้นผู้น้อยที่ท� ำหน้าที่รักษาการณ์ พระราชวัง อายุ ๒๕ ปี มีหน้าตาดี ว่ากันว่าเหมือนกับสาวในวังที่จักรพรรดิเฉียนหลงเคยหลงรักในวัยหนุ่ม ๒๑ ทั้งเป็นคนพูดจาฉลาด หลักแหลม จึงท� ำให้เป็นคนโปรดอย่างรวดเร็ว เป็นองครักษ์ประจ� ำตัว และเลื่อน ต� ำแหน่งสูงอย่างรวดเร็ว เป็นถึงองคมนตรีในองคมนตรีสภา (จุนจีฉู่) เสนาบดีกระทรวงภาษีอากร ประธาน การรวบรวมจัดท� ำหนังสือชุด “คลังวรรณกรรม ๔ สาขา” ฯลฯ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินถึงขนาดว่า ให้ราชธิดาองค์ที่ ๑๐ แต่งงานกับบุตรชายของเหอเซินใน ค.ศ. ๑๗๙๐ (พ.ศ. ๒๓๓๓) ๒๒ ๑๙ Ann Paludin, Chronicle of the Chinese Emperors (London: Thames & Hudson Ltd., 1998), p. 199. ๒๐ John K. Fairbank and Edwin O. Reischauer, East Asia: The Great Tradition, (Boston: Houghton Mifflin Company, 1960), p. 373. ๒๑ William T. Rowe, China Last Empire: The Great Qing (Cambridge: Harvard University Press, 2009), p. 153. ๒๒ Jonathan D. Spence, The Search for Modern China , Third Edition (New York: W.W. Norton & Company, 2013), p. 113.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=