สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระมหากรุณาธิ คุณด้านการบริ หารราชการแผ่นดิ นใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษั ตริ ย์ แห่งพระบรมราชจั กรี วงศ์ 8 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าทรง เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีคุณสมบัติของนักปกครอง นักเศรษฐศาสตร์ นักการศาสนา และนักการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลนี้ สยามต้องเผชิญกับการคุกคามจากการ แผ่ขยายอ� ำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตก ที่ส� ำคัญคืออังกฤษกับฝรั่งเศส ดังนั้น เพื่อความ อยู่รอดในฐานะประเทศเอกราชของประเทศเล็กอย่างสยามซึ่งด้อยกว่าอังกฤษและฝรั่งเศส โดยเฉพาะ ด้านก� ำลังทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงด� ำเนินพระบรมราโชบาย ในการเจรจาผ่อนปรนทางการทูต การท� ำสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์กับประเทศต่าง ๆ และการต้อง ยอมเสียดินแดนบางส่วนแก่มหาอ� ำนาจตะวันตกเพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้ อันเป็นลักษณะของ การยอมเสียประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนใหญ่คือเอกราชซึ่งเปรียบเสมือน หัวใจ เอาไว้ ขณะเดียวกับที่ต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อที่มหาอ� ำนาจตะวันตกจะไม่สามารถใช้ “เรื่องความเป็นบ้านเมืองที่ป่าเถื่อนไร้อารยธรรม” เป็นข้ออ้างในการยึดสยามเป็นเมืองขึ้นได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงด� ำเนินการต่าง ๆ ในด้านการบริหารราชการ แผ่นดิน คือ การปรับปรุงการปฏิบัติงานของกรมกองต่าง ๆ การจัดตั้งหน่วยงานใหม่เกี่ยวกับด้านการทหาร และการต� ำรวจ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตรากฎหมายที่ทรงดัดแปลงจากแบบแผนตะวันตก และให้มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างจริงจังในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้เป็นหลักการหรือ แนวทางในการปฏิบัติราชการอย่างเหมาะสมของข้าราชการที่ดี เปรียบประดุจเป็น “ธรรมนูญการปกครอง แผ่นดิน” เป็นเสมือน “คู่มือ” ในการด� ำเนินชีวิตของคนทั่วไป นอกจากนั้นยังทรงปรึกษาพระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีในการบริหารราชการแผ่นดินด้วย พร้อมกันนั้นยังได้ทรงด� ำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการ คือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน�้ ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงเป็นผู้น� ำในการดื่มน�้ ำ พระพิพัฒน์สัตยา เป็นการแสดงให้เห็นว่าทรงถือว่าทรงมีหน้าที่ต่อข้าราชการด้วย ไม่ใช่ข้าราชการมีหน้าที่ ต้องซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์เพียงฝ่ายเดียวดังแต่ก่อน นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วิธี เลือกตั้งผู้พิพากษาแทนการแต่งตั้งตามแบบเดิม รวมทั้งให้มีการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติที่กอปรด้วยคุณธรรม ให้เข้าด� ำรงต� ำแหน่งข้าราชการระดับสูงด้วย ในส่วนของราษฎรหรือไพร่ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของสังคมนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราษฎรอย่างไม่เคยปรากฏในพระมหากษัตริย์พระองค์ใด มาก่อน มีพระราชด� ำริในทางมนุษยนิยมและเสรีนิยมตามแนวความคิดทางพระพุทธศาสนาและตะวันตก ซึ่งได้ทรงน� ำมาใช้เพื่อยกฐานะของราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในลักษณะของการพระราชทาน “สิทธิพลเมือง” แก่อาณาประชาราษฎร์ โดยผ่านกฎหมายหรือประกาศที่ทรงตราขึ้นไว้ใช้ในการปกครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=