สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 140 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ... แม้นถึงจะปรารถนามังษะและรุธิระของโยม ก็อาจสามารถจะเชือดเนื้อแลโลหิตออกถวายเป็นทาน ได้” ๑๔ และมีการโปรยทานแก่ยาจกทุกวันพระ ๘ ค�่ ำและ ๑๕ ค�่ ำ ตั้งโรงทานเลี้ยงคนทุกข์ยาก การท� ำนุ บ� ำรุงพระพุทธศาสนายังท� ำในหัวเมืองเมื่อปราบชุมนุมใดได้ ก็ท� ำในลักษณะเดียวกัน รวมทั้งมีงานรื่นเริง การอัญเชิญพระไตรปิฏกมาคัดลอกที่กรุงธนบุรี เพียง ๒ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๒) ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็ค่อยมี “ความผาศุขสนุกนิ์บริบูรณ์คงคืนขึ้นเหมือนครั้งแผ่นดินกรุงเก่ายังปรกติดีอยู่นั้น” ๑๕ ประการที่ ๓ การท� ำให้บ้านเมืองเป็นปึกแผ่น เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก หลายเมืองตั้งตนเป็นอิสระ เป็นชุมนุมหรือมีผู้น� ำที่หลากหลาย ทั้งเชื้อพระวงศ์ คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ที่เมืองพิมาย ขุนนาง คือ พระยา พิษณุโลก (เรือง) ที่เมืองพิษณุโลก เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ที่เมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าตาก (สิน) และพระสงฆ์คือ เจ้าพระฝาง (เรือน) ที่เมืองสวางคบุรี (ในเมืองอุตรดิตถ์) อีกทั้งยังมีผู้คนที่หลบหนีพม่าได้ ได้รวมก� ำลังกัน ผู้เข้มแข็งก็เป็นนายชุมนุมเล็ก ๆ เช่น ที่แขวงกรุงศรีอยุธยา แขวงหลังสวน (เมืองชุมพร) มีการรบพุ่งแย่งชิงอาหาร “เกิดฆ่าฟันกันเป็นจุลาจลไปทั่วทั้งแผ่นดิน” ๑๖ ซ�้ ำยังมี สุกี้ นายกองพม่าอยู่ที่ ค่ายโพธิ์สามต้น (ในพระนครศรีอยุธยา) ในสภาพเช่นนี้ มีสมเด็จพระเจ้าตากสินเท่านั้นที่มุ่งกอบกู้บ้านเมือง และท� ำให้บ้านเมืองเป็น ปึกแผ่น โดยขับไล่ข้าศึกออกไปจากกรุงศรีอยุธยา และท� ำการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ซึ่งท� ำได้ส� ำเร็จใน พ.ศ. ๒๓๑๓ เมื่อปราบชุมนุมใด ถ้าจับหัวหน้าชุมนุมได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินจะท� ำการเกลี้ยกล่อมหัวหน้า ชุมนุมให้ร่วมมือกับพระองค์ ซึ่งแสดงให้เห็นบุคลิกภาพที่ส� ำคัญของพระองค์ประการหนึ่ง คือเมื่อปราบ ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชได้ ทรงห้ามไพร่พลไทย-จีน ไปรังแกฆ่าสัตว์และข่มเหงชาวบ้าน พระสงฆ์ ส� ำหรับเจ้านครศรีธรรมราชเมื่อจับตัวได้ เมื่อทรงปรึกษากับเสนาบดี ได้กราบทูลว่าให้ประหารชีวิต แต่ ทรงไม่เห็นด้วย เพียงแต่คุมขังและน� ำตัวมาที่กรุงธนบุรี ให้ถอดเครื่องพันธนาการ ถือน�้ ำพิพัฒนสัจจา และเป็นข้าราชการในกรุง ๑๗ ส� ำหรับกรมหมื่นเทพพิพิธ ไม่ยอมสวามิภักดิ์ จึง “ให้ส� ำเร็จด้วยท่อนจันทน์ ตามประเพณี” ซึ่งนับว่าเป็นการให้เกียรติแก่กรมหมื่นเทพพิพิธ ในฐานะที่เป็นเชื้อพระวงศ์ ๑๘ ๑๔ พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์, หน้า ๓๗๕. ๑๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๘๒. ๑๖ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๖๖. ๑๗ พันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ, หน้า ๖๔ - ๖๖ และ พระราชพงศาวดาร ฉบับ พระพนรัตน์, หน้า ๓๘๑-๓๘๒. ๑๘ ส� ำหรับชุมนุมพิษณุโลก ถูกเจ้าพระฝางปราบลงได้ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินไปปราบเจ้าพระฝาง เจ้าพระฝางหลบหนีตามจับตัวไม่ได้ และมีประกาศห้ามไพร่พล ข่มเหงรังแก ยึดทรัพย์สินของชาวบ้านเหมือนกับที่เมืองนครศรีธรรมราช
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=