สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
139 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ สงครามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมิได้มีแต่เพียงพม่า แต่ยังท� ำสงครามขยายอ� ำนาจไปยัง ประเทศเพื่อนบ้านด้วยเพื่อความมั่นคง พระองค์เป็นจอมทัพที่มีความสามารถ เด็ดเดี่ยว ท� ำให้แม่ทัพ นายกอง ไพร่พลทุกคนมีวินัย กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวข้าศึก ผู้ใดกลัวข้าศึก ขัดค� ำสั่ง ปฏิบัติตนไม่ได้ตามที่ มอบหมาย ทุจริตในหน้าที่ จะถูกลงโทษอย่างหนัก ตั้งแต่เอาบุตรภรรยาไปจองจ� ำ เฆี่ยนตี ประหารชีวิต เพราะบ้านเมืองอยู่ในภาวะอันตรายอย่างยิ่ง ส่วนไพร่บ้านพลเมืองทั้งไพร่หลวง ไพร่สม ต้องรับราชการ กันเต็มที่ ปีละ ๑๒ เดือน รวมทั้งพวกเข้ารีต ซึ่งการรับราชการหนักเช่นนี้ ไม่เคยมีมาก่อน ในส่วนพระองค์เอง แม้กรมพระเทพามาตย์ พระราชมารดาประชวรหนักจะสวรรคต ก็ไม่ได้เสด็จไปเฝ้า เพราะ “การแผ่นดิน ครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก... ไม่เห็นมีผู้ใดที่จะไว้ใจอยู่ต่อต้านฆ่าศึกได้” คือเรื่องของชาติบ้านเมืองมีความส� ำคัญ มากกว่า ประการที่ ๒ การแก้ไขความอดอยากและสร้างขวัญก� ำลังใจแก่ไพร่ฟ้าพลเมือง สงคราม ที่ยืดเยื้อมาหลายปีตั้งแต่ข้าศึกยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ๒ ครั้ง จนเสียกรุงฯ ติดตามด้วยการถูกยึด ครองกรุงฯ เป็นเวลา ๗ เดือนเศษ ท� ำให้การท� ำนาและเพาะปลูกยากล� ำบากจนถึงท� ำไม่ได้ และถูกซ�้ ำเติม ด้วยการปล้นสะดมและโรคภัยไข้เจ็บ บ้านเมืองเกิดจลาจลไปทั่ว ท� ำให้เกิดความอดอยากและล้มตาย มากมาย ทั้งในกรุงและหัวเมือง เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินยึดและขับไล่ข้าศึกจากกรุงศรีอยุธยาได้ ทรงพบว่า มีกองกระดูกผู้คนเป็นภูเขา มีคนอดอยากผอมโซ “รูปร่างดุจหนึ่งเปรตปีศาจ” ๑๒ เมื่อพระราชทาน แจกข้าวสาร มีคนอดอยากอนาถามารับมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ความอดอยากมิได้มีเพียงไพร่ฟ้าพลเมือง แต่รวมถึงข้าราชการ ทหาร พลเรือนไทย-จีนทรงซื้อข้าวสาร เสื้อผ้าแจกเป็นจ� ำนวนมาก “จนทุกข์พระทัย” และ ทรงตรัสว่า “บุทคลผู้ใดเป็นอาทิ คือ เทวดา บุทคลผู้มีฤทธิ์ มาประสิทธิ์ มากระท� ำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตวโลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้” ๑๓ แต่เทวดา หรือผู้มีฤทธิ์ก็ไม่มี การซื้อข้าวในราคาแพงแจกก็ไม่ใช่หนทางที่ถาวร ที่ถาวรคือการให้ทุกคน ทั้งขุนนาง ไพร่ ช่วยกันท� ำนา เพาะปลูก และค้าขายโดยเฉพาะกับจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลามีความรุ่งเรือง ทุกด้านรวมทั้งการค้าด้วย ในอีกด้านหนึ่ง ทรงบ� ำรุงขวัญและก� ำลังใจแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน โดยการท� ำนุบ� ำรุงพระพุทธศาสนา ให้รุ่งเรือง โดยนิมนต์พระที่รู้อรรถธรรมมาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตารามในปัจจุบัน) ตั้งสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ ฯลฯ และสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร กุฎิถวาย ถวายปัจจัย แด่พระภิกษุ สามเณร ขอให้สงฆ์ทั้งหลายรักษาศีลให้บริสุทธิ์ พระองค์จะ “.... อุปถากผู้เป็นเจ้าทั้งปวง ๑๒ พันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ , หน้า ๕๔. ๑๓ เรื่องเดียวกัน , หน้า ๕๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=