สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

137 วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ แต่ขณะช่วยราชการในกรุงนั้น พระยาวชิรปราการคาดการณ์ว่า บ้านเมืองคงไม่รอดจากเงื้อมมือของข้าศึก เพราะผู้น� ำอ่อนแอ ผู้ที่คิดเช่นนี้มีผู้อื่นด้วย เช่น พระเชียงเงิน จึงตัดสินใจตีฝ่าข้าศึกที่ล้อมกรุงออกไป เพื่อกลับมากอบกู้กรุงต่อไป เมื่อพระยาวชิรปราการตีฝ่าพม่าออกไปนั้น มีไพร่พลติดตามไปด้วยประมาณ ๑,๐๐๐ คน ๖ ซึ่งมีจ� ำนวนพอสมควรส� ำหรับเจ้าเมืองหัวเมืองที่มีผู้เห็นความสามารถ ในระหว่างทางได้แสดงความ สามารถในการรบและการเป็นผู้น� ำที่กล้าหาญ คือ น� ำทหารม้าเพียง ๔ นาย สู้รบกับทหารม้าพม่า ๓๐ นาย จนทหารม้าพม่าแตกถอยไป ท� ำให้ไพร่พลเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น และสรรเสริญว่า “นายเรามีบุญมาก เหน จะได้เป็นกระษัตริย จะก่อกู้แผ่นดินคืนขึ้นได้เปนแท้” ๗ และที่เลื่องลือมากคือการใช้จิตวิทยาอย่างสูงกับ ไพร่พลเพื่อจะโจมตีเมืองจันทบูร (จันทบุรี) โดย “ตรัสสั่งโยธาหาญทั้งปวงให้หุงอาหารรับพระราชทานแล้ว เหลือนั้นสั่งให้เทเสีย ต่อยหม้อข้าวหม้อแกงให้จงสิ้น ในเพลากลางคืนวันนี้ตีเอาเมืองจันทบูรให้ได้ ไปหา ข้าวกินเช้าเอาในเมือง ถ้ามิได้ก็ให้ตายเสียด้วยกันเถิด” ๘ ซึ่งท� ำให้ไพร่พลฮึกเหิมต่อสู้จนได้ชัยชนะ ตั้งแต่ออกจากพระนครศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการมีปณิธานที่แน่วแน่ว่า “จะกลับ มาแก้กรุงเทพมหานครทั้งบวรพุทธศาสนา” ๙ คือจะกลับมากอบกู้พระนครศรีอยุธยาและฟื้นฟูพระพุทธ ศาสนา และเมื่อถึงเมืองระยองเห็นว่าการที่จะบรรลุปณิธานนี้ได้ก็โดยตั้งตนเป็นเจ้าเพื่อให้คนทั้งหลาย นับถือย� ำเกรงมากขึ้น สถานะของพระยาวชิรปราการจึงเปลี่ยนไปเป็นเจ้า ผู้คนนิยมเรียกเป็น เจ้าตาก หรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเจ้าตากเป็นเพียงผู้เดียวในผู้น� ำหลายชุมนุมหรือหลายก๊กที่มุ่งมั่นจะกอบ กู้กรุงศรีอยุธยา ส่วนผู้น� ำชุมนุมอื่นรวมทั้งกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าบรมโกศ ก็เพียง ตั้งตนเป็นใหญ่ในหัวเมือง เมื่อพระเจ้าตากยึดเมืองจันทบูรได้ มีการเตรียมก� ำลังทั้งผู้คนไทยและจีนที่มาท� ำไร่พริก ไทยและไร่อ้อย ๑๐ และเรือรบเพื่อมาขับไล่กองก� ำลังของพม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยา ซึ่งท� ำได้ส� ำเร็จใน ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เพียง ๗ เดือนเศษหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ๖ กรมหลวงนรินทรเทวี, จดหมายความทรงจ� ำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) , พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : ต้นฉบับ, ๒๕๔๖), หน้า ๗ ว่ามี ๕๐๐ คน ต่อมาพระเชียงเงินมาร่วมกับพระยาวชิรปราการ ๗ พระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน์ , หน้า ๓๕๔. (อาจารย์ใช้ฉบับไหนคะ ขอด้วยค่า) ๘ พันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฯลฯ (กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, ๒๕๕๑), หน้า ๕๐. ๙ เรื่องเดียวกัน , หน้า ๓๖. ๑๐ Anthony Reid, A History of Southeast Asia, Critical Crossroads, (West Sussex: Wiley Blackwell, 2015), p. 214.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=