สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมเด็ จพระเจ้าตากสิ นมหาราชกั บจั กรพรรดิ เฉี ยนหลงในความสั มพั นธ์ไทย-จี น 136 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๒ ต่อไปจะเรียกสั้น ๆ ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ๓ เค. ดับเบิลยู. เทย์เลอร์ (K.W. Taylor) ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์เวียดนาม กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินรู้และพูดภาษาเขมรและ ภาษาญวน เพราะในวัยหนุ่มไปค้าขายที่เขมร จึงเรียนและใช้ภาษาเขมรและญวนได้คล่อง ( A History of the Vietnamese , p. 365). ๔ ส� ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ชิงสือลู่ (เกาจงสือลู่ บรรพ ๘๑๗) วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๓๑๑. ๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. “พงศาวดารสยามอย่างย่อ” วินัย พงศ์ศรีเพียร แปล ในเซอร์ จอห์น เบาว์ริง, ราชอาณาจักร และราษฎรสยาม เล่ม ๒, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกัณฐิกา ศรีอุดม บรรณาธิการแปล (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต� ำราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, ๒๕๔๒), หน้า ๒๘๖. ๑. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับจักรพรรดิเฉียนหลง ๑.๑ บุคลิกภาพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๒ หลักฐานเกี่ยวกับชาติก� ำเนิดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมีความแตกต่างกันอยู่มาก ที่ยอมรับ กันมากที่สุด คือ “อภินิหารบรรพบุรุษ” ซึ่งเป็นหนังสือเก่า พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ เดิมเป็นสมุดข่อย ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ในหนังสือกล่าวว่า พระองค์เกิดใน พ.ศ. ๒๒๗๗ บิดาเป็นจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ที่พระนครศรีอยุธยา มารดาเป็นคนไทย เมื่อเป็นเด็ก บิดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาจักรี ท� ำให้เด็กชายสินมีโอกาสเล่าเรียนมากขึ้นโดยเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ต่อมาเจ้าพระยาจักรี ได้น� ำเด็กชายสินไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในเวลาว่างได้เรียนภาษาเพิ่มเติม ทั้งภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาบาลี จนใช้การได้ดี ๓ หลักฐานจีนร่วมสมัย คือ “ชิงสือลู่” ได้ข้อมูลจากการสืบข่าวของสยามหลังการเสียกรุง ศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน “เป็นคนต�่ ำต้อยในประเทศจีน” แล้วระเหเร่ร่อน ไปจนได้เป็นขุนนาง ๔ มีหลักฐานที่ห่างออกมามากขึ้น แต่ส� ำคัญ คือ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เป็นภาษาอังกฤษ ส่งไปลงหนังสือพิมพ์ The Chinese Repository ทรง กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นคนเชื้อสายจีน เกิดที่บ้านตาก ต่อมาเป็นเจ้าเมืองตาก ๕ ที่กล่าวมาโดยสรุปจะเห็นความขัดแย้งในหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตเบื้องแรกของสมเด็จ พระเจ้าตากสินก่อนที่จะปรากฏในพระราชพงศาวดาร แต่ที่แสดงให้เห็นความส� ำคัญต่อบุคลิกภาพของ พระองค์ คือ มีบิดาเป็นจีน ใฝ่หาความรู้และมีความรอบรู้หลายภาษา เป็นมหาดเล็กท� ำให้ใกล้ชิดกับราชส� ำนัก ต่อมาได้ไปราชการที่เมืองตาก จนได้เป็นเจ้าเมืองตาก ซึ่งเป็นที่มาของนามพระยาตากสิน เมืองตากในสมัยก่อนมีความส� ำคัญทางชายแดน มีด่านส� ำคัญที่เป็นเส้นทางที่พม่ายกทัพ เข้ามาโจมตีไทยได้ เมืองส� ำคัญที่อยู่ใกล้เคียงกันคือ ก� ำแพงเพชร ซึ่งพระยาตากสินได้เป็นเจ้าเมืองในเวลา ต่อมา เป็นพระยาก� ำแพงเพชร หรือพระยาวชิรปราการ (สิน) แต่ท่านไม่มีโอกาสไปปกครอง เพราะอยู่ ช่วยราชการในกรุงศรีอยุธยาเพื่อช่วยป้องกันบ้านเมืองจากข้าศึก ซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถของท่าน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=