สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับจักรพรรดิเฉียนหลง ในความสัมพันธ์ไทย-จีน วุฒิชัย มูลศิลป์ ๑ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ๑ รองประธานกรรมการช� ำระประวัติศาสตร์ไทย กระทรวงวัฒนธรรม บรรยายในที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์ และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘. บทคัดย่อ ความสัมพันธ์ไทย-จีน ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับจักรพรรดิเฉียนหลง ผู้ยิ่งใหญ่ มีความซับซ้อนยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในประวัติความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง โดยมีพื้นฐานทั้งจาก บุคลิกภาพของทั้ง ๒ พระองค์ โลกทัศน์ และธรรมเนียมของความสัมพันธ์ พระเจ้าตากสินต้องใช้ความ พยายามและความอดทนเป็นเวลานาน เพราะจักรพรรดิเฉียนหลงไม่ยอมรับสถานะที่พระเจ้าตากสิน เป็นลูกครึ่งไทย-จีน ทั้งแย่งชิงราชสมบัติ แต่เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงให้การรับรองและให้ตราตั้ง การเป็นกษัตริย์ พระเจ้าตากสินมหาราชก็ไม่ได้ยอมอ่อนข้อให้กับจักรพรรดิเฉียนหลงมากจนเกินไป ค� ำส� ำคัญ : พระเจ้าตากสิน, จักรพรรดิเฉียนหลง, ความสัมพันธ์ไทย-จีน สมัยธนบุรี ในสมัยธนบุรี ความสัมพันธ์ไทย-จีนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐- ๒๓๒๔) กับจักรพรรดิเฉียนหลง (Qianlong, ค.ศ. ๑๗๓๖-๑๗๙๖/พ.ศ. ๒๒๗๙-๒๓๓๙) จักรพรรดิ ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ต้าชิง (Da Qing, ค.ศ. ๑๖๔๔-๑๙๑๒/พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๔๕๕) หรือ เรียกสั้น ๆ ว่าราชวงศ์ชิง มีลักษณะส� ำคัญทั้งที่เป็นความสัมพันธ์ตามธรรมเนียมประเพณีของฝ่ายไทย และโลกทัศน์ของฝ่ายจีนที่มีมาช้านาน กับบุคลิกภาพส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ที่อยู่ร่วมสมัยกัน ซึ่งท� ำให้ความสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวมีลักษณะพิเศษยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในความสัมพันธ์ ไทย-จีนตามแบบเก่าที่มีมายาวนาน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=