สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปิยนาถ บุนนาค 7 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าในรัชกาลของพระองค์ กรุงรัตนโกสินทร์จะเพิ่ง ก่อตั้งมาได้เพียง ๓ รัชกาลแต่อาจกล่าวได้ว่า สภาพการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมได้รับการปรับปรุง ให้เป็นระบบอย่างชัดเจน อันเป็นผลมาจากการวางนโยบายของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ พระองค์ทรงประสานความสัมพันธ์ระหว่างเสนาบดีกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีอ� ำนาจและบทบาท ทางการปกครองและเศรษฐกิจให้ร่วมกันบริหารราชการบ้านเมืองได้อย่างสมานฉันท์ ไม่ร้าวฉาน เป็น ฐานก� ำลังให้แก่ราชบัลลังก์ในด้านความมั่นคง ในช่วงรัชกาลนี้ยังเริ่มมีการคุกคามโดยชาวตะวันตกที่มุ่ง แสวงหาอาณานิคม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวิจารณญาณอันกว้างไกล ทรงตระหนัก ถึงภัยที่ก� ำลังคืบคลานเข้ามาทั้งทางตรงและทางอ้อม การยอมท� ำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกก็เป็นไป เพื่อธ� ำรงรักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและความเป็นชาติไทยเอาไว้อย่างเข้มแข็ง นโยบายด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท� ำให้สังคมเกิดการพัฒนา และเจริญขึ้นกว่าที่เคยเป็นในรัชกาลก่อนโดยที่โครงสร้างของระบบยังเป็นแบบเดิม นั่นคือโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจด้านการเกษตรที่สามารถรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมไว้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้น พระราชทรัพย์ที่ทรงเก็บสะสมไว้ใน “ถุงแดง” ซึ่งได้จากการที่ทรงท� ำการค้าขายส่วนพระองค์ยังมีส่วน ช่วยน� ำพาประเทศให้รอดพ้นจากการคุกคามของชาติตะวันตก กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้สยามจ่ายเงินค่าปรับไหม และค่าชดใช้แก่ฝรั่งเศสซึ่งเป็นคู่กรณีตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นเงินถึง ๒,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจ� ำต้องน� ำเงินถุงแดงนั้นมาใช้ในสถานการณ์ขณะนั้น นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสนับสนุนส่งเสริมทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมท� ำให้เกิด การขยายตัวของชุมชน เกิดการสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกหลายเมืองทั้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคตะวันออก นับเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน ผลิตของสยามด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่เพียงแต่ทรงพัฒนาปรับปรุงการปกครองและเศรษฐกิจ เท่านั้น แต่ยังได้ทรงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นประชากรของพระองค์ด้วย โดยทรงเห็นความส� ำคัญของ การศึกษา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกวิชาความรู้ทั้งทางการแพทย์และวรรณคดีที่วัดพระเชตุพน วิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เพื่อเปิดโอกาสให้ราษฎรเข้ามาศึกษาและไม่หวงแหนที่จะมีการคัดลอก ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ ยังทรงท� ำนุบ� ำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมสร้าง วัดหลายแห่ง การทรงศีลทรงทาน และการรวบรวมพระไตรปิฎก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=