สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
131 ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าจะมีหลักการ ความเชื่อ และแนวคิดมากมายที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกับสมาชิกอื่นใน ครอบครัวเดียวกัน แต่การแยกออกมาอยู่คนเดียวก็เป็นสิ่งที่บางคนจงใจเลือก ขณะที่อีกหลายคนต้องเลือก เพราะเงื่อนไขส่วนบุคคลและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมบังคับให้ต้องอยู่คนเดียว ดูเหมือนว่าในที่สุด แล้วการอยู่คนเดียวก� ำลังกลายเป็นวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง และเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่คนจ� ำนวนมากขึ้น เห็นว่า “อยู่คนเดียวก็ได้ สบายดี” สถิติที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นคู่ขนานมาพร้อมกับการกลายเป็นอุตสาหกรรม (industrialization) ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาถึงขั้นเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์แล้วส่วนใหญ่มีครัว เรือนคนเดียวคิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือมากกว่าของครัวเรือนทั้งหมด ในบางประเทศครัว เรือนเกือบครึ่งหนึ่งมีคนอยู่เพียงคนเดียวเท่านั้น ในประเทศไทยย้อนหลังไปประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ครัวเรือนคนเดียวเป็นสัดส่วนเพียงน้อยนิดของครัวเรือนทั้งหมดเท่านั้น (ราว ๑ ใน ๒๐) แต่ ณ วันนี้ เกือบ ๑ ใน ๕ ของครัวเรือนไทยทั้งหมดเป็นครัวเรือนประเภทนี้ ที่น่าสังเกตคือ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาครัว เรือนคนเดียวในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มเร็วมากกว่าอัตราเพิ่มของครัวเรือนทุกประเภทรวมกันหลายเท่า การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของครัวเรือนคนเดียวในทุกภูมิภาคของโลกในช่วงเวลาหลายทศวรรษ ที่ผ่านมาคงไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ จะต้องมีปัจจัยส� ำคัญที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์นี้ แต่ปัจจัยเหล่านั้นคืออะไร? เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับการอยู่คนเดียวยังเป็นเรื่องใหม่ส� ำหรับวงวิชาการไทย บทความนี้อาศัยข้อค้นพบจากการศึกษาในที่อื่น และเสนอค� ำตอบต่อค� ำถามข้างต้นว่า ปรากฏการณ์ การอยู่คนเดียวเป็นผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ๓ ด้าน ในช่วงเวลา ๔-๕ ทศวรรษที่ผ่านมา คือ การเปลี่ยนผ่านทางประชากร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคมและวัฒนธรรม.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=