สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อยู่คนเดี ยว : รูปแบบใหม่ของครั วเรื อนในสั งคมปัจจุบั น 130 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ส่วนใหญ่เพราะความจ� ำเป็นในการเดินทางไปท� ำงานและชอบความมีอิสระ ส� ำหรับเธอวันที่จะได้อยู่ กับพ่อแม่ก็มีเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดอื่น ๆ เท่านั้น เธอบอกว่า ทุกวันนี้ ครอบครัวของเธอ กลายเป็น “ครอบครัวสุดสัปดาห์” ไปแล้ว ที่มา : การสัมภาษณ์ โดยผู้เขียน ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๓) สวัสดิการสังคมและวัฒนธรรม : ส่วนใหญ่ของการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม แยกไม่ออกจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในที่นี้ต้องการจะชี้ว่าสังคมที่รัฐมีระบบดูแลประชาชนหรือ ระบบสวัสดิการที่ดีมักจะมีกลไกสาธารณะให้ความดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง อย่างน้อยก็ในด้านความ จ� ำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ สังคมเช่นนั้นมักจะเอื้อต่อการอยู่คนเดียว อาจจะด้วยเหตุนี้ก็เป็นได้ที่ประเทศ ในกลุ่มสแกนดิเนเวียทั้งหมด (สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก) ซึ่งมีระบบสวัสดิการสังคมที่เข้มแข็ง มาก จึงมีอัตราการอยู่คนเดียว (ครัวเรือนคนเดียว) สูงที่สุด ดังข้อมูลในตารางที่ ๑ ที่ได้แสดงมาแล้วข้างต้น ปัจจัยด้านวัฒนธรรมก็อาจจะมีส่วนช่วยให้การอยู่คนเดียวเป็นเรื่องที่ไม่ยากล� ำบาก จนเกินไป ประเด็นในที่นี้คือ การมีวัฒนธรรมครอบครัวที่เข้มแข็ง ซึ่งโดยตัวมันเองแล้วไม่เอื้อต่อการที่สมาชิก จะแยกออกไปอยู่คนเดียวเท่าใดนัก แต่เมื่อใดที่มีสมาชิกจ� ำเป็นต้องอยู่ล� ำพังคนเดียว ครอบครัวจะไม่ปล่อย ให้สมาชิกนั้น “หลุด” ไปจากเครือข่ายสนับสนุนโดยสิ้นเชิง เพราะวัฒนธรรมครอบครัวที่เข้มแข็งมีตัวชี้ วัดอันหนึ่งคือการให้ความส� ำคัญอย่างสูงแก่ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่นแฟ้น โดยนัยนี้ แม้การอยู่ คนเดียวจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดส� ำหรับสมาชิกครอบครัวบางคน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยที่คนที่อยู่ อย่างนั้นยังมีครอบครัวและเครือญาติที่ให้การสนับสนุนได้เมื่อจ� ำเป็น ในเรื่องนี้มีการศึกษาผู้สูงอายุที่อยู่ คนเดียวในประเทศไทย เวียดนาม และเมียนมา ชี้ให้เห็นว่า ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวในทั้ง ๓ ประเทศนี้ส่วน มากยังมีบุตรหรือญาติใกล้ชิดอาศัยอยู่ใกล้ (อาจเป็นบ้านหลังถัดไป หรืออยู่ในชุมชนเดียวกัน) และพร้อม ที่จะให้ความช่วยเหลือได้ในยามต้องการ (Teeravichitchainan, Knodel and Pothisiri, 2015; Rittirong, Prasartkul and Rindfuss, 2013) ๕. สรุป ถ้าถือว่าครัวเรือนที่มีสมาชิกอยู่กันหลายคนคือรูปแบบการอยู่อาศัยที่มีมาในประวัติศาสตร์ อันยาวนานของมนุษย์ การอยู่คนเดียวก็เป็นปรากฏการณ์ใหม่ และเป็น “อาการ” อย่างหนึ่งที่แสดงให้ เห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคม ปรากฏการณ์นี้เพิ่งปรากฏชัดเป็นครั้งแรกในสังคมตะวันตกในช่วงครึ่งหลัง ของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ และก� ำลังแพร่ไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย บทความนี้ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=