สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
117 ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ครอบครัว ไปเล่าเรียนและปฏิบัติธรรมอยู่ในเสนาสนะอันสงบสงัด ห่างไกลจากสิ่งรบกวน หรือในส� ำนัก ที่มีอุปัชฌาย์อาจารย์อบรมดูแล ต่างจากผู้ที่อยู่สถานภาพเป็นคฤหัสถ์ หรือฆราวาส ซึ่งต้องผูกพันอยู่กับ เรื่องของครอบครัว และต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น ๒.๓ วัฒนธรรมประเพณี ประเพณีที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณนับพัน ๆ ปีเกี่ยวกับครอบครัวในวัฒนธรรมกระแสหลัก ของตะวันออก โดยเฉพาะวัฒนธรรมจีนและอินเดีย อาจจะมีนัยต่อการจัดการเรื่องการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อ การอยู่ในครัวเรือนร่วมกับสมาชิกครอบครัวอื่น ๆ (อยู่หลายคน) มากกว่าอยู่คนเดียว วัฒนธรรมจีนซึ่งได้ รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ มีระบบครอบครัวที่เข้มแข็ง และระบบครอบครัวนี้ก็ปรากฏในสังคมอื่น ๆ ที่ได้ รับอิทธิพลวัฒนธรรมจีนด้วย (โดยเฉพาะเกาหลีและญี่ปุ่น) จุดเด่นของระบบครอบครัวจีนอยู่ที่การเคารพ และกตัญญูต่อพ่อแม่และการบูชาบรรพบุรุษ นอกจากนี้ยังมีระบบควบคุมการแต่งงาน (แบบคลุมถุงชน) และเกณฑ์เกี่ยวกับการอยู่อาศัยร่วมกันของสมาชิกครัวเรือนที่ชัดเจนว่า ใครคือผู้ที่จะได้อยู่ในครัวเรือนเดียว กับพ่อแม่ต่อไป ใครจะต้องย้ายออกเมื่อแต่งงานแล้ว ระบบการอยู่อาศัยตามประเพณีของจีนจึงเป็นการ อยู่รวมกันเป็นครัวเรือนใหญ่ (ครัวเรือนขยาย) เรื่องนี้ก็คล้ายกับระบบครอบครัวในวัฒนธรรมอินเดียและ วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศเอเชียใต้ที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากวัฒนธรรมอินเดีย ระบบครอบครัวแบบจีน และอินเดียมีลักษณะส� ำคัญร่วมกันอย่างหนึ่งคือ การสืบสายตระกูลข้างฝ่ายบิดา (patrilineal) เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีระบบการเลือกที่อยู่หลังแต่งงานที่ให้ลูกชายที่แต่งงานแล้วทุกคนอยู่ร่วมในครัวเรือนเดียว กับพ่อแม่ อย่างน้อยจนกว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต (ปิตาลัย -- patrilocal) ระบบนี้ท� ำให้ครอบครัวในอุดมคติมี ลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ส่วนที่ต่างกันของทั้งสองระบบนี้อยู่ที่การนับถือบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะของระบบครอบครัวแบบจีน แต่ทั้งสองระบบก็เอื้อต่อการอยู่กันเป็นครัวเรือนใหญ่ ระบบครอบครัว ที่เข้มแข็งนี้มีอิทธิพลต่อหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย แต่ระบบครอบครัวของไทยในอดีตต่างไปจากทั้งของจีนและอินเดีย ระบบของไทยนิยม ให้ลูกที่แต่งงานแล้วย้ายออกไปสร้างครอบครัวของตัวเองต่างหาก หลังจากที่ใช้เวลาช่วงสั้น ๆ อยู่กับพ่อ แม่แล้ว แต่ลูกที่ย้ายออกไปส่วนมากก็จะอยู่ในที่ดินที่พ่อแม่แบ่งให้ในบริเวณรั้วเดียวกัน โดยวิธีนี้พ่อแม่ ก็จะไม่ถูกปล่อยให้อยู่ตามล� ำพังในวัยชรา เนื่องจากจะยังมีลูกคนหนึ่งอยู่ด้วย (โดยมากคือลูกสาวคนเล็ก ที่แต่งงานแล้ว) ระบบนี้จึงไม่เอื้อด้วยประการใดต่อการอยู่คนเดียวในยามแก่เฒ่า แม้ว่าพ่อหรือแม่คนใด คนหนึ่งจะเสียชีวิตไปก่อนก็ตาม เพราะจะยังมีลูกที่แต่งงานแล้วอยู่ด้วยและท� ำหน้าที่ดูแลไปจนชีวิต จะหาไม่ (Mizuno, 1971)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=