สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อยู่คนเดี ยว : รูปแบบใหม่ของครั วเรื อนในสั งคมปัจจุบั น 116 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๒.๒ ศาสนา ในทุกศาสนามีหลักความเชื่อหรือค� ำสอนที่อาจตีความโดยอ้อมได้ว่ามนุษย์ไม่ควร อยู่คนเดียว เช่น ในศาสนาคริสต์มีแนวคิดที่ให้ตีความได้ว่า การอยู่ร่วมกับคนอื่นเป็นพระประสงค์ของ พระเจ้า และเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา พระคัมภีร์เยเนซิสกล่าวถึงการสร้างโลกว่า พระเจ้าทรงสร้างโลกและ สิ่งต่าง ๆ วันละอย่าง เริ่มด้วยการสร้างสวรรค์และพื้นดินก่อน แล้วสร้างน�้ ำ แสงสว่าง กลางวัน กลางคืน และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ตามล� ำดับ เมื่อสร้างแต่ละอย่างเสร็จพระเจ้าก็ทรงเปล่งวาจาว่า “ดี ๆ” สุดท้ายพระองค์ ทรงสร้างมนุษย์ผู้ชายขึ้นมาคนหนึ่ง คืออาดัม แต่พอสร้างเสร็จพระองค์ไม่ได้ทรงเปล่งวาจาว่า “ดี” เหมือน ตอนสร้างสิ่งอื่น แต่ทรงเปล่งวาจาว่า “ไม่ดีเลยที่จะให้อาดัมอยู่คนเดียว” แล้วพระองค์ก็ทรงสร้างอีวาขึ้นมา ตั้งแต่นั้นมาอาดัมก็ไม่ได้อยู่คนเดียวอีกต่อไป (Genesis 2:18, อ้างใน Klinenberg, 2012:1) นัยของ เรื่องการสร้างโลกอาจตีความได้ว่า พระเจ้ามีพระประสงค์ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับคนอื่นไม่ควรอยู่คนเดียว ในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธมีหลักการที่เปิดทางไว้พอสมควรส� ำหรับการใช้ชีวิต อยู่คนเดียว โดยมองการด� ำรงชีวิตว่าเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัยของชีวิต (life course) หรือตามสถานภาพ ของบุคคลในบางช่วงวัย หรือบางสถานภาพการหลีกออกไปอยู่คนเดียวอาจเป็นสิ่งที่พึงประสงค์มากกว่า โดยเฉพาะการอยู่คนเดียวเพื่อการแสวงหาความสงบและความหลุดพ้นในทางจิตวิญญาณ ในศาสนาพราหมณ์มีหลักที่บุคคลพึงปฏิบัติในช่วงวัยต่าง ๆ ของชีวิต เรียกว่า “อาศรม ๔” ได้แก่ (๑) พรหมจรรยะ คือ ชีวิตในวัยเด็กที่บุคคลพึงศึกษาเล่าเรียน ผู้อยู่ในวัยนี้จะต้องปฏิบัติ ตามหลักธรรมที่ว่าด้วยการศึกษา ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยนี้เรียกว่า พรหมจารี (๒) คฤหัสถยะ คือ ขั้นตอนการครองเรือนหลังจากส� ำเร็จการศึกษาเล่าเรียนแล้ว จะต้อง ปฏิบัติตามหลักธรรมที่ว่าด้วยการครองเรือน เรียกผู้อยู่ในช่วงวัยนี้ว่า คฤหัสถ์ (๓) วานปรัสถยะ คือ ขั้นการแยกตัวออกไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า หลังจากครองเรือน จนมีสมบัติพอสมควร ครอบครัวมีฐานะมั่นคงและมีลูกหลานผู้จะสืบตระกูลได้แล้ว เรียกผู้อยู่ในช่วงวัยนี้ ว่า วานปรัสถ์ (๔) สันนะยาสะ คือ ขั้นการออกบวชหลังจากออกไปบ� ำเพ็ญธรรมอยู่ในป่าพอสมควรแล้ว และมีศรัทธาแก่กล้าถึงกับเสียสละทุกอย่าง เรียกผู้อยู่ในช่วงวัยนี้ว่า สันยาสี (พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล, ๒๕๔๘: ๗๑-๗๒) ส่วนในพุทธศาสนาไม่มีหลักการเฉพาะที่จ� ำแนกชีวิตคนออกเป็นช่วง ๆ เหมือนในศาสนา พราหมณ์ แต่ได้วางแนวทางส� ำหรับผู้ที่อยู่สถานภาพเป็น “บรรพชิต” คือผู้ออกบวช ซึ่งเป็นผู้สละบ้านเรือน หรือไม่ครองเรือน (อนาคาริก) ในภาวะเช่นนั้นผู้ถือเพศบรรพชิตต้อง “ออกจากเรือน” หรือออกจาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=