สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

115 ชาย โพธิ สิ ตา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ หลายคนมากกว่า โดยจะเริ่มด้วยแนวคิดของปราชญ์ในยุคโบราณก่อน แล้วกล่าวถึงแนวคิดทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และจบลงด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ๒.๑ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ในสมัยดึกด� ำบรรพ์ก่อนที่อารยธรรมมนุษย์จะเริ่มขึ้น มนุษย์เรียนรู้ว่าจ� ำเป็นต้องอยู่รวมกัน เป็นกลุ่ม เพราะการอยู่กันอย่างนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยให้มีความปลอดภัยจากอันตรายที่มีอยู่มากมายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้หาอาหารได้ดีขึ้น และมีโอกาสสืบทอดพันธุ์ของตัวเองได้ด้วย มนุษย์ในสมัยดึกด� ำบรรพ์จัดการ เรื่องการอยู่อาศัยของตนแบบไม่ซับซ้อน อยู่กันเป็นกลุ่มเล็ก การผูกพันกันเป็นครอบครัวที่มั่นคงนอกเหนือ จากความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกแล้ว ไม่มีอะไรชัดเจน ความสัมพันธ์อย่างอื่นเป็นเรื่องของการหาอาหาร และการปกป้องตัวเองมากกว่า การจัดการเรื่องการอยู่อาศัยวิวัฒนาขนานกันมากับความจ� ำเป็นในการผลิต อาหารและการสร้างความปลอดภัย ผ่านยุคสมัยตลอดอารยธรรมที่ยาวนาน ปัจจุบันความจ� ำเป็นพื้นฐาน อย่างเดียวกันกับที่มนุษย์ดึกด� ำบรรพ์ได้ประสบก็ยังมีอยู่ แต่มนุษย์ปัจจุบันได้สร้างกลไกที่ซับซ้อนมากขึ้น กล่าวคือไม่เพียงแต่สร้างระบบครอบครัวบนฐานของความสัมพันธ์อันมั่นคงเท่านั้น แต่ยังสร้างระบบทาง สังคม การเมือง และเศรษฐกิจขึ้นมาเพื่อประกันความมั่นคงยั่งยืนให้แก่กลุ่มของตนด้วย อาริสโตเติล (Aristotle, ๓๘๔-๓๒๒ ปีก่อนคริสต์ศักราช) ปรัชญาเมธีกรีกยุคคลาสสิก กล่าวไว้ในหนังสือ Politics ว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคม คนที่ไม่มีสังคมโดยธรรมชาติไม่ใช่ โดยบังเอิญ คงไม่มีใครมองเห็น หรือมิฉะนั้นเขาก็คงเป็นมากกว่ามนุษย์ ... ถ้าไม่ใช่สัตว์เดียรัจฉานก็คงเป็น พระเจ้า” ทัศนะเช่นนี้ แม้จะไม่ได้บ่งบอกโดยตรงว่ามนุษย์ควรอยู่อย่างไร แต่ก็ชี้ชัดว่าการมีส่วนร่วมกับ คนอื่นเป็นสิ่งจ� ำเป็น ดังนั้นจะตีความว่าไม่ควรอยู่ล� ำพังคนเดียวก็คงไม่ผิด แม้ในยุคที่ศาสตร์ทางสังคมเกิดขึ้นแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ นักคิดที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดา แห่งสังคมวิทยาอย่าง เอมิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim, ค.ศ. ๑๘๕๘-๑๙๑๗) ก็มีแนวคิดที่สะท้อน ให้เห็นว่าการอยู่เป็นกลุ่มเป็นสิ่งส� ำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ส� ำหรับชีวิตมนุษย์ เดอร์ไคม์เน้นความส� ำคัญของ กลุ่มหรือสังคมว่าอยู่เหนือชีวิตของปัจเจกชน มนุษย์ไม่สามารถด� ำรงอยู่ได้โดยไม่อาศัยคนอื่น ปราศจากกลุ่ม หรือสังคมแล้วปัจเจกชนไม่มีตัวตน ไม่มีความมั่นคง และด� ำรงอยู่ไม่ได้ เดอร์ไคม์ชี้ให้เห็นว่าสังคม “มีชีวิต” ของมันเองแยกต่างหากจากชีวิตของบุคคล ดังนั้นจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับชีวิตบุคคล แต่สังคมอยู่เหนือบุคคลและ มีอิทธิพลต่อชีวิตของบุคคล ไม่มีใครที่เกิดมานอกสังคม ทันทีที่เกิดมาคนทุกคนก็เป็นสมาชิกของสังคมหรือ กลุ่มโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ สังคมยังกล่อมเกลาให้บุคคลมีความรู้สึกผูกพันกัน อันน� ำไปสู่การมีเอกภาพ ในสังคม (social solidarity) และเอกภาพนั้นเกิดจากการที่ทุกคนมีส� ำนึกทางสังคม (social consciousness) นัยคือการอยู่โดดเดี่ยวจากสังคมไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนา (Durkheim, 1997) มองในระดับการอยู่อาศัย แนวคิดเช่นนี้เอื้อต่อการอยู่ในครัวเรือนหลายคนมากกว่าในครัวเรือนคนเดียว

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=