สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
อยู่คนเดี ยว : รูปแบบใหม่ของครั วเรื อนในสั งคมปัจจุบั น 114 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 การอยู่คนเดียวอาจจะวัดหรือนับเพื่อการวิเคราะห์ได้ ๒ วิธี แต่ละวิธีจะให้ตัวเลขที่ไม่ตรงกัน เสียทีเดียว วิธีแรก เราอาจวัดโดยใช้ครัวเรือนเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ เพื่อทราบว่า ณ เวลาหนึ่ง ๆ ครัวเรือน ที่มีคนอาศัยอยู่เพียงคนเดียวมีจ� ำนวนเท่าไร หรือคิดเป็นร้อยละเท่าไรของครัวเรือนทั้งหมด อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้คนที่อาศัยอยู่คนเดียวเป็นหน่วยวิเคราะห์ว่าคนที่อยู่คนเดียวมีจ� ำนวนเท่าไร หรือคิดเป็นร้อยละเท่าไร ของประชากรทั้งหมด แม้ว่าจ� ำนวนคนที่อาศัยอยู่คนเดียวจะเท่ากับจ� ำนวนครัวเรือนที่มีคนอยู่คนเดียว แต่ร้อยละของครัวเรือนคนเดียวกับร้อยละของคนที่อยู่คนเดียวจะไม่ใช่ตัวเลขเดียวกัน เพราะตัวเลขฐาน ที่ใช้ค� ำนวณเป็นคนละอย่างกัน อย่างแรก ฐานคือจ� ำนวนครัวเรือน อย่างหลัง ฐานคือจ� ำนวนประชากร เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ค่อนข้างใหม่ การอยู่คนเดียวเพิ่งได้รับความสนใจจาก นักสังคมศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้ อย่างน้อยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเพิ่งเริ่มปรากฏอย่างจริงจัง ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ นี้เอง ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่าประเด็นทางวิชาการของเรื่องการอยู่คน เดียวยังเป็นเรื่องใหม่ ที่เป็นเช่นนี้คงเนื่องจากในอดีตการอยู่คนเดียวเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมาก อาจกล่าวได้ว่านอกเหนือจากคนที่ “ไร้ญาติขาดมิตร” และคนอีกจ� ำนวนหนึ่ง (ซึ่งก็มีจ� ำนวนเพียง เล็กน้อย) ที่เลือกจะอยู่ล� ำพังคนเดียวด้วยเหตุผลบางอย่างแล้ว คนที่เหลืออาศัยอยู่ในครัวเรือนประเภทใด ประเภทหนึ่งร่วมกับคนอื่น ด้วยเหตุนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาครัวเรือนคนเดียวจึงไม่ได้รับความสนใจจาก นักสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวและครัวเรือน ในบทความนี้ ค� ำถามที่ต้องการจะหาค� ำตอบคือ เหตุใดในปัจจุบันการอยู่คนเดียว (ครัวเรือน คนเดียว) จึงมีจ� ำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่ในอุดมคติแล้วครัวเรือนควรเป็นที่ อยู่รวมกันของสมาชิกครอบครัวหลายคน (มากกว่า ๑ คน) อะไรคือเหตุผลที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ การน� ำเสนอต่อไปนี้จะเริ่มด้วยการทบทวนองค์ความรู้โดยสังเขป เกี่ยวกับปัจจัยที่มีนัยต่อ การจัดการที่อยู่อาศัยทั่ว ๆ ไปเพื่อเป็นภูมิหลังส� ำหรับการท� ำความเข้าใจการอยู่คนเดียว (ครัวเรือนคนเดียว) จากนั้นจะกล่าวถึงปรากฏการณ์การอยู่คนเดียว ซึ่งจะให้ภาพของการอยู่คนเดียวในสังคมที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งในสังคมไทยด้วย สุดท้ายจะเป็นการพยายามตอบค� ำถามที่ให้ไว้ข้างต้นว่า เหตุใดการอยู่คนเดียว จึงเป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อะไรคือเหตุผลที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ ๒. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นภูมิหลังในการท� ำความเข้าใจเรื่องการอยู่คนเดียว จะขอส� ำรวจดูแนวคิดและปัจจัย ที่อาจส่งผลต่อการอยู่อาศัยโดยทั่วไปก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงประมาณครึ่งหลังของคริสต์ ศตวรรษที่ ๒๐ ครัวเรือนที่มีสมาชิกหลายคนเป็นรูปแบบของการอยู่อาศัยกระแสหลักในสังคมทั่วโลก แนวคิดและองค์ความรู้ที่ทบทวนมาเสนอในส่วนนี้จึงหนักไปในด้านที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัยในครัวเรือน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=