สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปิยนาถ บุนนาค 5 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ องค์เชียงสือหลบหนีไปจากกรุงเทพฯ เพื่อกู้บ้านเมืองก็มิได้มีพระราชหฤทัยอาฆาต กลับมีรับสั่งว่า “เขียนด้วยมือแล้วอย่าลบด้วยเท้าไม่บังควร” สะท้อนให้เห็นพระราชวิสัยทัศน์ในการที่จะทรงผูกน�้ ำใจ เจ้าประเทศราชไว้เป็นไมตรีกับสยาม เพราะภายหลังที่องเชียงสือกลับไปกู้บ้านเมืองส� ำเร็จและปราบดาภิเษก เป็นพระเจ้าเวียดนามยาลองแล้วก็ได้แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลก มหาราชเสมอมา พระบรมราโชบายอีกประการหนึ่งในการสร้างและพัฒนาศักยภาพให้ข้าราชการในรัชกาลของ พระองค์คือ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมต� ำรับต� ำราความรู้ต่าง ๆ ที่เคยใช้เป็นหลักปฏิบัติ ราชการในสมัยอยุธยาขึ้นใหม่ ทรงได้เจ้าพระยาเพชรพิชัย ผู้รับราชการสืบมาจากปลายสมัยอยุธยา และ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหลักในการนี้ โดยเฉพาะเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นก� ำลังส� ำคัญในการ แปลวรรณกรรมในภาษาต่างประเทศ ๒ เรื่อง คือ เรื่อง สามก๊ก ของจีน และพงศาวดารมอญเรื่อง ราชาธิราช เนื่องจากวรรณกรรมทั้ง ๒ เรื่องนี้ เป็นขุมความรู้ส� ำหรับข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน การวางระบบบริหารราชการแผ่นดินและการเสริมสร้างศักยภาพของข้าราชการในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราชนั้นประสบความส� ำเร็จอย่างงดงาม ท� ำให้ประเทศสยามกลับ สู่ความเป็นเอกภาพอีกครั้ง และยังส่งผลให้พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธ- เลิศหล้านภาลัยทรงสามารถสืบสานพระราชภาระในการบริการราชการแผ่นดินต่อไปได้อย่างราบรื่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีความใกล้ชิดและปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราชมาโดยตลอด ทรงได้เรียนรู้ ได้รับ การฝึกอบรม และมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงทรงมีพระราชวิสัยทัศน์ที่กระจายพระราชอ� ำนาจสู่ผู้มีความรู้ความสามารถ อย่างเหมาะสม ในการบริหารราชการส่วนกลาง ทรงตั้ง “ผู้ก� ำกับราชการ” ท� ำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการ ของเสนาบดีกรมต่าง ๆ มีอ� ำนาจสั่งราชการนับเป็นการสร้างดุลอ� ำนาจระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์กับ ข้าราชการมิให้อ� ำนาจตกอยู่แก่ฝ่ายใดมากเกินไป ส่วนภูมิภาค โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งแยกแล้วปกครองใน การบริหารดังปรากฏในการบริหารราชการแผ่นดินเมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช หัวเมืองประเทศราช นอกจากนั้นยังได้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พระองค์ทรงส่งข้าราชการ จากส่วนกลางตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการหัวเมือง ซึ่งเป็นแบบอย่างในการบริหารราชการ แผ่นดินในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงริเริ่มจัดระเบียบสังคมนานัปการซึ่งเป็นต้น แบบในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การจัดการเรื่องการครอบครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีการรังวัด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=