สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 อยู่คนเดียว : รูปแบบใหม่ของครัวเรือน ในสังคมปัจจุบัน ชาย โพธิสิตา ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ ครัวเรือนคนเดียวเป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่แทบไม่เกิดขึ้นเลยในอดีต แต่ในปัจจุบันปรากฏการณ์นี้ก� ำลังแพร่หลายมากขึ้น ไม่เฉพาะในสังคมที่พัฒนาทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ในสังคมที่ก� ำลังพัฒนาอย่างเช่นสังคมไทยด้วย บทความนี้ต้องการน� ำเสนอภาพรวมของปรากฏการณ์ นี้ ทั้งในระดับโลกและในประเทศไทย ทั้งนี้ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่จากแหล่งทุติยภูมิ ค� ำถามที่ต้องการจะ หาค� ำตอบคือ เหตุใดในปัจจุบัน การอยู่คนเดียวหรือครัวเรือนคนเดียวจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอะไร คือค� ำอธิบายที่มีเหตุผลส� ำหรับปรากฏการณ์นี้ ข้อมูลที่มีอยู่ชี้ให้เห็นว่า อัตราการอยู่คนเดียวผันแปรในเชิงบวกไปตามระดับการพัฒนา ทางสังคมและอุตสาหกรรม ภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางสังคมและอุตสาหกรรมสูงส่วนมากมีอัตราการอยู่ คนเดียวสูง ขณะที่อัตราการอยู่คนเดียวจะต�่ ำในภูมิภาคที่การพัฒนาทางสังคมอุตสาหกรรมอยู่ในระดับต�่ ำ ภูมิภาคที่อัตราการอยู่คนเดียวสูงได้แก่ยุโรปตะวันตกร้อยละ ๓๑ อเมริกาเหนือร้อยละ ๒๗.๖ ยุโรปตะวัน ออกร้อยละ ๒๗.๔ และออสตราเลเชียร้อยละ ๒๔.๒ ส่วนภูมิภาคที่มีอัตราการอยู่คนเดียวต�่ ำ ได้แก่ ลาติน อเมริการ้อยละ ๑๑.๔ ตะวันออกกลางและแอฟริการ้อยละ ๑๐.๙ และเอเชียร้อยละ ๘.๘ ในประเทศไทย ในช่วงเวลาประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมาสัดส่วนของครัวเรือนที่มีสมาชิกเพียงคนเดียว แม้จะยังอยู่ในระดับต�่ ำ แต่ก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือใน พ.ศ. ๒๕๓๓ ครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียวมีเพียงร้อยละ ๕ ของครัวเรือนทั้งหมด แต่เพิ่มเป็นร้อยละ ๙.๔ ใน พ.ศ. ๒๕๔๓ และ ๑๘.๓ ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามล� ำดับ นั่นคือ เกือบ ๑ ใน ๕ ของครัวเรือนในประเทศไทยเป็นครัวเรือนที่มีสมาชิกอยู่เพียงคนเดียว การวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิพบว่า ปรากฏการณ์การอยู่คนเดียวเป็นสิ่งที่มา พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลัก ๓ ด้าน คือ การเปลี่ยนผ่านทางประชากร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สู่การเป็นอุตสาหกรรม และการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคมและวัฒนธรรม ค� ำส� ำคัญ : ครัวเรือนคนเดียว, การอยู่คนเดียว, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, ประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=