สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 108 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๒. พวกที่ถือระบบวรรณะมีการแบ่งชนชั้น วรรณะสูงสร้างเครื่องมือทางความเชื่อ หาผล ประโยชน์จากความเหลื่อมล�้ ำต�่ ำสูงในสังคมกดข่มผู้อ่อนแอกว่ากีดกันความเจริญก้าวหน้าของคนใน วรรณะอื่น สร้างค� ำสอนศาสนากดขี่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์กลายเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความไม่เสมอภาค และอ้างอ� ำนาจที่ไม่เป็นธรรม กลายลัทธิอภิสิทธิ์ชน ๓. พวกที่ถือว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมคือการบูชายัญและยึดถืออิทธิปาฏิหาริย์ ฤกษ์ยาม และน�้ ำศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นกิจกรรม ชั้นสูงของชีวิตและสังคมไม่ได้รับการตอบสนองหรือโปรดปรานจากเทพเจ้า จึงต้องท� ำการบวงสรวงสังเวย อยู่ต่อไป พระพุทธเจ้าทรงแสดงค� ำสอนในทางปฏิสัมพันธ์ต่อพระเวท ๓ หลักการคือ การปฏิรูป หรือการอนุโลม รับสภาพความเป็นจริงของสังคมมนุษย์ในชมพูทวีปขณะนั้นที่มี ความเชื่อเรื่องศรุติ ยึดถือวรรณะว่าวรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด เรื่องพรหมันเชื่อว่าเป็นปฐมกรของ สรรพสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ในเรื่องของพราหมณ์และวรรณะพราหมณ์ทรงอนุโลมตามความยึดถือของสังคม แต่ ทรงให้ความหมายใหม่ว่าผู้ที่จะเป็นพราหมณ์ก็ดี บริสุทธิ์ก็ดี ด้วยความประพฤติดีทางกาย วาจา ใจ คือ การไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่น และบ� ำเพ็ญประโยชน์ กล่าวคือการไม่ท� ำบาปทั้งปวง การสร้างกุศลให้ถึงพร้อมและการท� ำจิตใจให้ผ่องแพ้ว ทรงน� ำหลักกรรมมาอธิบายเรื่องเทพเจ้าอย่าง มีเหตุผล แสดงให้เห็นว่าการเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทวดารวมทั้งพรหมนั้นมนุษย์ก็เป็นได้ในชีวิตนี้ด้วยหลัก เทวธรรม การปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงการบูชายัญที่ชุ่มโชกเลือดการเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นเป็น ความโหดร้าย การบริสุทธิ์ย่อมได้ด้วยการท� ำกรรมดี ทรงสอนการนับถือฤกษ์ยาม การอาบน�้ ำช� ำระตน ในแม่น�้ ำเสียใหม่ ด้วยหลักการประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ การสังคมสงเคราะห์ และหลักมนุษยธรรม การประกาศพรหมจรรย์ ทางแห่งการด� ำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากทุกข์ต้องหลีกเลี่ยง จากข้อปฏิบัติสุดโต่งทั้งสองคือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ขึ้นมาใหม่ ด้วยการด� ำเนิน ตามหลักทางสายกลาง คือ หลักมัชฌิมาปฏิปทา บนพื้นฐานของอริยสัจ ๔ แสดงหลักธรรมวินัยที่เรียกว่า พรหมจรรย์ว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยการปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ ตามหลักไตรสิกขา การอธิบายโลกและชีวิตด้วย หลักไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท บูรณาการ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยหลักความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และสังคม ในการพัฒนาสังคมพุทธบริษัททั้งสี่ี ให้เกิดการยกระดับปุถุชนไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคล และบรรลุ จุดมุ่งหมายสูงสุดคือนิพพานในองค์แห่งพระรัตนตรัยอย่างสมดุล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=