สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 106 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ปัญญา ซึ่งท� ำให้ผู้ค้นพบได้เป็นพระพุทธะ และเมื่อน� ำความจริงนั้นมาประกาศสั่งสอนเผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ตาม จนตั้งศาสนาได้กลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าค้นพบเองแต่ไม่ได้เผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ตามกลายเป็น พระปัจเจกพุทธะ และถ้าเป็นผู้รู้ความจริงนั้นตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอน เรียก อนุพุทธะ พระธรรมทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ สรุปลงในอริยสัจ ๔ คือ “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค” เรียก พระธรรม พระสงฆ์ คือ มนุษย์ผู้เข้าถึงความจริงตามอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ท� ำให้เข้าถึงความจริงคือ พระธรรม มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นองค์แรก และต่อมาก็ได้มีผู้ส� ำเร็จ มรรคผลตามเรียกว่า พระอริยสงฆ์ มีทั้งที่เป็นเพศคฤหัสถ์และบรรพชิต มีทั้งเพศชายและเพศหญิง มีทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ เรียกว่า พระสงฆ์ ๒. ในฐานะแม่แบบความสมบูรณ์สูงสุด โลกและชีวิตเมื่อแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เห็นความ สัมพันธ์กันแล้วมีอยู่ ๓ ส่วน คือ มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม เมื่อทั้ง ๓ ส่วน ทรงตัวอยู่อย่างสมดุลกัน โลกและชีวิตจึงด� ำเนินไปด้วยความสมบูรณ์สูงสุดได้ มนุษย์เป็นศูนย์กลางแห่งส่วนทั้งสามนั้น เพราะ มนุษย์มีอิสระกระท� ำการต่าง ๆ ที่มีค่าเป็นบุญ บาป ได้ด้วยเจตนา ธรรมชาติ คือ สิ่งแวดล้อมตัวมนุษย์ และสังคม คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกันในหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านการปกครอง ด้านกฎหมาย ความเชื่อ วัฒนธรรม มนุษย์ในฐานะที่มีอิสระก� ำหนดบทบาทของตนเองได้ พึงท� ำหน้าที่ประสานกลมกลืนกันทั้ง ๓ ส่วน ให้อย่างสมดุลด้วยจริยธรรมบุคคล จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมสังคม กลายเป็นองค์แม่แบบแห่งการพัฒนาและสมบูรณ์สูงสุด ๓. ในฐานะองค์รวมสูงสุด มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม มีส่วนสุดยอดตรงกันในแต่ละอย่าง คือ มนุษย์พัฒนาสูงสุดแล้วเป็น พระพุทธเจ้า ธรรมชาติ เมื่อมนุษย์เข้าถึงตัวความจริงที่ปรากฏแก่มนุษย์ ในธรรมชาตินั้น คือ ธรรมะ และสังคมที่พัฒนาถึงขั้นอุดมคติแล้วก็เป็นหมู่ชนที่เรียกว่า “สังฆะ” คือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งมีอยู่ในตัวบุคคลแต่ละคนอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นค� ำว่ามนุษย์ในทางพุทธปรัชญาจึงได้นิยามว่า “เป็นเวไนยสัตว์ที่มีศักยภาพในการฝึกฝน (ศีล สมาธิ และปัญญา) แล้วเป็นผู้ประเสริฐ” ๔. ในฐานะความสัมพันธ์ของโลกและชีวิต พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณ ๓ ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระกรุณาธิคุณ และ พระบริสุทธิคุณ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสัมพันธ์กับธรรมชาติ เพราะ ทรงมีปัญญารู้ เข้าใจ ค้นพบความจริงในธรรมชาติ และได้ตัวธรรมะขึ้นมาด้วยปัญญา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ กับพระพุทธเจ้า และพระธรรม การที่ทรงค้นพบธรรมะในธรรมชาติด้วยปัญญานั้น ท� ำให้พระองค์ หลุดพ้นจากกิเลสและความชั่วทั้งปวง ทั้งกาย วาจา ใจ เป็นคุณสมบัติข้อที่ ๒ คือ พระบริสุทธิคุณ เมื่อทรงค้นพบพระธรรมแล้ว ก็กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง คุณธรรมต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นตามมาที่แสดงออกต่อสังคมโดยผ่านคุณธรรมทั้งที่เป็นตัวน� ำ คือ ความกรุณา คิดจะช่วยเหลือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=