สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เดื อน ค� ำดี 105 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ๖๐ ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๒/๒๕๘ การให้พึ่งตัวเองเป็นการวางรากฐานจิตใจให้มั่นคง หนักแน่น ไม่ให้อ่อนแอ คอยแต่จะเหลียวหาผู้อื่น ช่วยเหลือตลอดเวลา บุคคลผู้คิดพึ่งตัวเองอยู่เสมอย่อม ย่อมท� ำให้เป็นผู้ไม่ประมาท มีจิตใจเป็นอิสระ นิพพาน คือ จุดมุ่งหมายสูงสุดของระบอบพรหมจรรย์ ปราศจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง เป็นโลกุตตรธรรม ทรงแสดงไว้ใน ขุททกนิกาย ตรัสแสดงไว้ ๒ อย่างคือ สอุปาทิเสสสนิพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพานธาตุ อย่างแรก คือ การดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ ส� ำหรับพระอรหันต์ขีณาสพผู้ยัง เสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ และอย่างหลัง คือการดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ส� ำหรับพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวง ๖๐ มรรคมีองค์ ๘ ประการ เป็นทางน� ำไปสู่นิพพาน ๔. หลักบูรณาการ (Integration) บูรณาการคือ ปฏิบัติการน� ำหน่วยย่อยมารวมกันเข้าเป็น เอกภาพอย่างสร้างสรรค์สมดุลและสมบูรณ์ พระพุทธศาสนาประกอบด้วยบุคคล ๔ หน่วยย่อยคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา รวมลงเป็น ๒ ในหน่วยบรรพชิตและคฤหัสถ์ มีความเป็น ๑ เอกภาพคือ ความเป็นพุทธ ด้วยยึดถือองค์พระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุดของชีวิต พระรัตนตรัย จึงเป็นองค์รวมแห่งระบอบพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง สร้างสรรค์นั้น พระพุทธเจ้าทรงตระหนักว่ามนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาตนไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุดได้ คือเป็นพระพุทธะ สังคมที่พัฒนาสูงสุดด้วยการเข้าถึงความจริงคือสัจจะในธรรมชาติเรียกว่า ธรรมะตาม ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วน� ำมาเผยแผ่และสั่งสอนที่ผู้คนในสังคมปฏิบัติตามได้บรรลุธรรมคือ ความเป็นพุทธนั้นกลายเป็นสังฆะคือ สังคมอริยชนกลายเป็นสังคมที่พัฒนาแล้ว มนุษย์ปฏิบัติตาม ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาอย่างบูรณาการกันเข้าเป็นเอกภาพด้วยหลักความสัมพันธ์ที่เป็นจริยธรรม บุคคล จริยธรรมสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมสังคม ระหว่างมนุษย์กับพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ท� ำให้เกิดความสัมพันธ์กันขึ้นเป็นองค์พระรัตนตรัย พระรัตนตรัยจึงเป็นแบบอย่าง (Example) แห่ง การพัฒนาตนสูงสุดของมนุษย์ ธรรมชาติแวดล้อมและสังคมแสดงให้เห็นบูรณาการความสัมพันธ์ของ พุทธบริษัท ๔ ท� ำให้ทุกคนมีส่วนพัฒนาศักยภาพของตนอย่างสมดุลในการเข้าถึงความเป็นเอกภาพ ในพระรัตนตรัย ๑. ในฐานะสัญลักษณ์ของพุทธบริษัท พระพุทธเจ้า คือ เจ้าชายสิทธัตถะทรงคุณลักษณ์ ๒ ประการ คือ ในฐานะบุคคล และในฐานะมนุษย์ผู้มีตนอันพัฒนาสูงสุด และเป็นแม่แบบที่มนุษย์ทั้งปวง จะต้องถือเป็นแบบอย่างแห่งการพัฒนาตนในความเป็นมนุษย์จนถึงเป็นอรหันต์ กลายเป็นมนุษย์ผู้มี พัฒนาตนสมบูรณ์สูงสุด เรียก พุทธะ พระธรรม คือ ความจริงในธรรมชาติที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=