สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 104 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ท� ำกรรมนั้น คือ โลภะ ความอยากได้ โทสะ ความคิดประทุษร้าย โมหะ ความหลงมัวเมา แสดงออก ที่ทวารทั้งสาม คือ ๑) ทางกาย คือ กรรมท� ำด้วยกาย เรียก กายกรรม ๒) ทางวาจา คือ กรรมท� ำด้วยวาจา เรียก วจีกรรม และ ๓) ทางใจ คือ กรรมท� ำด้วยใจ เรียก มโนกรรม และกรรมดีเรียก กุศลกรรม กรรมชั่ว เรียก อกุศลกรรม กฎแห่งกรรม มีว่า ทุก ๆ การกระท� ำด้วยเจตนาย่อมมีผลตอบแทน การท� ำดีย่อมได้รับ ผลดี การท� ำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ในทางศีลธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เพราะมีกิเลสจึงท� ำกรรม เพราะท� ำกรรม จึงย่อมมีวิบากเป็นผลตอบแทน เป็นวัฏจักร ปุถุชนที่ยังมีกิเลสวัฏคืออวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นแรงผลักดันย่อมกระท� ำการดีบ้างชั่วบ้างซึ่งต้องรับผลคือวิบากได้แก่ภพภูมิต่าง ๆ  ๓๑ ภพ มีคติเป็น ๒ คือ สุคติและทุคติ ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ กลายเป็นสังสารวัฏ อันหาเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดมิได้ เป็นวัฏจักรหรือวงจรชีวิตของสัตว์โลก ท่องเที่ยวไปในภพภูมิต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ แรงกรรมซึ่งแสดงให้เห็นวัฏสงสาร ๓ องค์ คือ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ วิบากวัฏ เป็นเหตุให้หมุนเวียนอยู่ อย่างนี้ไม่จบสิ้น ตราบเท่าที่สัตว์ โลกยังมีกรรม ยังตัดกระแสแห่งกิเลสตัณหาไม่ได้ดังที่ตรัสใน สังยุตตนิกาย ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนเป็นผู้รับผลของกรรม ...สงสารนี้ก� ำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องขวางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ...บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก บางคราวก็จากปรโลก มาสู่โลกนี้ ... เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกับหนึ่ง พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูก ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละ ถ้ากองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และกระดูกที่ได้กองรวมไว้แล้ว ไม่พึงกระจัดกระจายไป ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าสงสารนี้ก� ำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้” ๕๗ ส่วนผู้ตัดกิเลสทั้งปวงได้ ย่อมดับสังสารวัฏเสียได้เรียกว่า บรรลุนิพพาน ในเรื่องกฎแห่งกรรมนี้ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักพึ่งตัวเองในการประกอบคุณงามความดี ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของตนให้สูงขึ้น ไม่สอนให้คิดแต่จะเอาดีด้วยการอ้อนวอนบวงสรวง ทรงสอนเป็นเหตุให้เกิดหลักเรื่องการท� ำดีได้ดี ท� ำชั่วได้ชั่ว ที่เรียกว่า กฎแห่งกรรม ใน ขุททกนิกาย ตรัสว่า “ความเพียรเป็นหน้าที่ที่ท่านทั้งหลายจะพึงท� ำเอง ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้ทางให้” และในที่อีก แห่งหนึ่งตรัสว่า “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้” ๕๘ และที่อีกแห่งหนึ่งก็ตรัสว่า “ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นเกาะที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย จงมีธรรม เป็นเกาะเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย” ๕๙ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การสอนกฎแห่งกรรม คือ ๕๗ สํ.นิทาน.๑๖/๓๒๔/๔๔๐-๔๑ ๕๘ ขุ.ธ.๒๕/๕๑/๓๗-๕๑ ๕๙ สํ.ขันธ.๑๗/๕๓/๕๑

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=