สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เดื อน ค� ำดี 103 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิด ด� ำเนินไป และการดับไป ของชีวิตรวมถึงการเกิด การดับแห่งทุกข์ด้วย ในกระบวนการนี้ สิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้น-เป็นอยู่-และดับลง ในลักษณะแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันในรูปวงจร ไม่มีส่วนไหนเป็น ปฐมกร หรือปฐมเหตุ เพราะกระบวนการของชีวิตเป็นวัฏฏะแห่งกิเลส กรรม วิบาก ซึ่งกลายเป็นวัฏสงสาร เป็นผลการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าโดยตรง ในสังยุตตนิกาย นั้นเองมีพุทธภาษิตดังนี้ อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี อิมสฺสูปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น อิมสฺสมึ อสติ อทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับไปด้วย” ๕๔ ปฏิจจสมุปบาทมีองค์หรือหัวข้อธรรม ๑๒ องค์แสดงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะ อาศัยกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน ๆ  จึงเกิดมีขึ้น ๕๕ ไตรลักษณ์ คือ อาการที่เป็นเครื่องก� ำหนดหมาย ๓ อย่าง อันให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรม ทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้น ๆ ตามธรรมดาของมัน มี ๓ อย่างคือ ๑) อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒) ทุกขตา ความเป็นทุกข์ และ ๓) อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตนลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้ มีแก่ธรรม ที่เป็นสังขตะคือ สังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอกัน จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ หรือ สามัญลักษณ์ ไม่สามัญ แก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ อันได้แก่ วิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่ ๓ คือ อนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะ ๒ อย่างต้น ดังที่ตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือ ความตั้งอยู่ตามธรรมชาติ (ธรรมฐิติ) ความเป็นไปตามธรรมชาติ (ธรรมนิยาม) ก็คงอยู่อย่างนั้น คือข้อที่ว่า สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ (ทนอยู่ไม่ได้) ธรรม (ทั้งสิ่ง มีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ทั้งปวงเป็นอนัตตา ตถาคตตรัสรู้ เข้าใจชัดถึงธาตุนั้นแล้ว จึงบอก แสดง บัญญัติ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ท� ำให้เข้าใจง่ายถึงข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ๕๖ ดังนั้น ธรรมทั้ง ๓ เหล่านี้ ปรากฏอยู่ตามธรรมดา ที่แน่นอนเป็นไปตามกฎธรรมชาติ คือ ธรรมนิยาม นับเป็นองค์ธรรมตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นปรมัตถ ธรรมแตกต่างจากลัทธิค� ำสอนของศาสดาอื่น ๆ ในโลก กรรม คือ การกระท� ำที่ประกอบด้วยเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เรียกว่า กรรม ใน มัชฌิมนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ว่า กรรมแสดงออก ๓ ทาง แต่ละทางย่อมกิเลสก� ำกับที่เป็นแรงส่งให้สัตว์โลก ๕๔ สํ.นิทาน.๑๖/๖๔-/๑๔๔ ๕๕ วินย.๔/๑/๑:สํ.นิ.๑๖/๑/๑ ๕๖ สํ.สฬ.18/25/1

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=