สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระมหากรุณาธิ คุณด้านการบริ หารราชการแผ่นดิ นใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษั ตริ ย์ แห่งพระบรมราชจั กรี วงศ์ 4 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ในกระบวนการทางยุติธรรม เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรและควบคุมความประพฤติ ของอาณาประชาราษฎร์ ด้านที่ ๒ คือ ความเป็นหลักเกณฑ์ บทบัญญัติ และคู่มือในการบริหารราชการ แผ่นดินให้แก่พระมหากษัตริย์และข้าราชการทุกระดับชั้น นอกจากนั้นยังมีความเป็นบรรทัดฐานที่แสดง กฎเกณฑ์การบริหารงานบุคคล การสร้างและพัฒนาศักยภาพของข้าราชการเป็นพระบรมราโชบายที่ส� ำคัญอีกประการหนึ่งของ องค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ เพราะการบริหารราชการแผ่นดินจะเป็นเอกภาพมั่นคงได้ก็ด้วยมีข้าราชการดี ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรจ� ำนวนไม่น้อยที่แสดงว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชโปรดบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถให้เข้ารับราชการและมักเจริญในราชการด้วย ซึ่งในระยะแรก ตั้งกรุงเทพมหานครนั้นการศึกสงครามกับพม่ายังเป็นพระราชภาระส� ำคัญ งานราชการในระยะแรกจึงเน้น ไปที่ราชการสงคราม ดังข้อความที่ว่า “ในรัชกาลที่ ๑ ใครมีฝีมือในทางรบทัพจับศึกก็เป็นคนโปรด” ดังได้ ทรงชุบเลี้ยงบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ให้ได้เป็นข้าราชการในรัชกาลของพระองค์เป็น จ� ำนวนมาก ที่ส� ำคัญคือเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) เจ้าพระยายมราช (ทองอิน) เจ้าพระยาเพชรพิชัย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด) เจ้าพระยาพลเทพ (ปิ่น) เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) เจ้าพระยา อภัยภูเบศร์ (แบน) พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนเป็น ข้าราชการที่รับราชการมาตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยาและตลอดรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และ ได้มาเป็นก� ำลังส� ำคัญในระบบบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราช ยังผลให้ระบบบริหารราชการแผ่นดินในยุคแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์สามารถเข้าสู่ความเป็นเอกภาพ และความมั่นคงได้อย่างรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราชทรงมีความเป็นนักรบที่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ขณะเดียวกันก็ทรงเป็นนักบริหารที่สุขุมอ่อนโยนและประนีประนอม พระองค์ไม่โปรดการใช้ความรุนแรงใน การตัดสินปัญหาต่าง ๆ ในราชการ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการบริหารงานบุคคล ไม่โปรดการจ� ำกัดบุคคลที่ไม่ พึงประสงค์ออกจากราชการโดยการประหารชีวิต แต่โปรดพระราชทานโอกาสให้ได้กลับตัวกลับใจและหัน กลับมาใช้ความรู้ความสามารถเป็นประโยชน์ต่อราชการแผ่นดิน ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานโอกาส ให้บรรดาข้าราชการจ� ำนวนมากที่เคยรับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้มีโอกาสถวายตัว รับราชการต่อไปในรัชกาลของพระองค์ตามความสมัครใจ แม้แต่พระราชาคณะที่ต้องปาราชิกพ้นจาก ความเป็นสงฆ์ก็มิได้ทรงรังเกียจ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้เข้ารับราชการในฝ่ายพลเรือนจนมีความ เจริญก้าวหน้าหลายคน แม้แต่กับเจ้าประเทศราชภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ เช่น องเชียงสือ เมื่อครั้งที่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=