สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 102 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 เป็นที่รวมลงแห่งกุศลธรรมทั้งปวง ๒) เป็นธรรมอันบุคคลรู้ได้ยาก ผู้ไม่บรรลุสัจธรรมนี้ย่อมตกอยู่ใน อ� ำนาจแห่งความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย เร่ร่อนท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏสิ้นกาลหาที่สุด ไม่ได้ และ ๓) เป็นธรรมแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอริยบุคคลทั้งหลาย ใน สังยุตตนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยสัจ ๔ เป็นธรรมจ� ำเป็นส� ำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทรงย�้ ำ ให้ภิกษุทั้งหลายสอนชาวบ้านให้เข้าใจอริยสัจ ๔ ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่พวกเธอ พึงอนุเคราะห์ก็ดี เหล่าชนที่พอจะรับฟังค� ำสอนก็ดี ไม่ว่าเป็นมิตร เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ เป็นสาโลหิต ก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ด� ำรงอยู่ ให้ประดิษฐานอยู่ ในการตรัสรู้ตามเป็นจริงซึ่งอริยสัจ ๔ ประการนี้” ๕๒ อริยสัจ ๔ มีค� ำอธิบาย ดังนี้ ๑) ทุกข์ คือ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่าอุปาทาน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ๒) ทุกขสมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ๓) ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึง เมื่อก� ำจัดอวิชชา ส� ำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือ นิพพาน และ ๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ปฏิปทาที่น� ำไปสู่ความดับแห่งทุกข์อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อริยสัจ ๔ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามุกกังสิกธรรมเทศนา แปลว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า ทรงหยิบยกขึ้นถือเอาไว้ด้วยพระองค์เอง ๕๓ อนึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค คือ มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมภาคปฏิบัติ ในอริยสัจ ๔ เป็นพื้นฐานจริยธรรมทั้งระบอบ ซึ่งน� ำไปเพื่อบรรลุนิพพาน ใน ทีฆนิกายมหาวรรค ตรัสว่า ทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ คือ ๑) สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒) สัมมาสังกัปปะ ด� ำริชอบ ๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔) สัมมากัมมันตะ กระท� ำชอบ ๕) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖) สัมมาวายามะ พยายาม ชอบ ๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ และ ๘) สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นอริยสัจ ข้อที่ ๔ รวมลงในไตรสิกขาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา และได้ชื่อว่า มัชฺฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นข้อปฏิบัติในทาง สายกลาง และเพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะน� ำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้น จากความทุกข์ ปลอด ปัญหาไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค กล่าวคือ การบรรลุนิพพาน ๕๒ สํ. ม.19/1720/552 ๕๓ สํ.ม.๑๙/๓๔๙/๙๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=