สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เดื อน ค� ำดี 101 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ๙) อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ และ ๑๐) อย่าปลงใจ เชื่อเพราะนับถือว่า “ท่านเป็นสมณะเป็นครูของเรา” ทรงแสดงต่อไปว่าต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น ๕๑ จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงการปฏิวัติเรื่องพรหมันที่แสดงออกเป็นเทพเจ้าต่าง ๆ เสียใหม่ ทรงปฏิเสธเรื่อง อัตตานิรันดร ด้วยหลักปฏิจจสมุปบาท พรหมันที่ว่าเป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งรวมทั้งมนุษย์ ด้วยนั้นไม่มีอยู่จริงเพราะพวกพราหมณ์ไม่รู้ความจริง ตกอยู่ในความกลัวจึงประดิษฐ์ความคิดขึ้นมา ให้มีตัวตนเพื่อหาที่พึ่งจากภัยอันตรายที่ตนไม่รู้สาเหตุ ที่แท้สรรพสิ่งมีอยู่เป็นอยู่ ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตามหลักปฏิจจสมุปบาทและไตรลักษณ์กล่าวคือ สรรพสิ่งตกอยู่ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และตรัสแสดง ให้เห็นว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ๓. การประดิษฐานพรหมจรรย์ขึ้นใหม่ (Foundation) พรหมจรรย์ คือ การด� ำเนินชีวิต ที่บริสุทธิ์ด้วยหลักอริยสัจธรรมพระพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงของโลก ชีวิต และจริยธรรมของมนุษย์ด้วย หลักธรรมมัชฌิมาปฏิปทาขึ้นมาใหม่ โดยที่พระองค์ไม่ได้ลอกเลียน หรือให้สอดคล้อง หรือให้แตกต่าง จากลัทธิใด ๆ ในโลก ทรงปฏิเสธจิตนิยมที่พัฒนาเป็นศาสนาเทวนิยมคือพระเวท ปฏิเสธวัตถุนิยมที่พัฒนา เป็นลัทธิดับสูญหรือโลกายัตรวมทั้งวิธีการปฏิบัติทรมานตนให้ล� ำบาก และวิถีการปล่อยตนให้เปียกชุ่ม ด้วยกามสุข ทรงแสดงระบอบพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ การด� ำเนินชีวิตด้วยสัมมาทิฏฐิ ไปตามทางแห่ง การบรรลุความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงด้วยหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือการหลีกเลี่ยงจากส่วนสุดโต่ง สองสายได้แก่ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่ามีอัตตา ยืนโรงนิรันดรและนัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ ทรงยกอริยสัจ ๔ ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางพรหมจรรย์ศาสนาใหม่ของพระองค์ ที่ประกอบด้วยหลักธรรม ส� ำคัญคือ อริยสัจ ๔ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาทกรรมและสังสาร และนิพพานหลักธรรมทั้งหลายนี้สรุป รวมลงในหลักอนัตตาธรรม ซึ่งยังไม่เคยมีศาสดาในโลกค้นพบมาก่อน มีแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์แล้วน� ำมาสั่งสอนเรียกว่าระบอบ พรหมจรรย์ อริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อริยสัจทั้ง ๔ ประการ นี้เป็นความรู้และทางน� ำไปสู่ความดับทุกข์หรือนิพพาน ความรู้ในอริยสัจประกาศว่าทุกข์คืออะไร สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร จะดับทุกข์ได้อย่างไร นิโรธ จะท� ำให้แจ้งได้อย่างไร มรรค ทางแห่งการ ดับทุกข์นั้นเป็นอย่างไรอริยสัจ ๔ มีความส� ำคัญที่สุด ในฐานะเป็นผลการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติ ธรรมทุกระดับล้วนแต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรู้แจ้งในอริยสัจนี้ เพราะ ๑) เป็นศูนย์กลางแห่งหลักธรรมและ ๕๑ องฺ.ติกฺ.20/502/241
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=