สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 100 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ก็คือการมีการกระท� ำหรือกรรมที่แสดงออกทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ จ� ำแนกออกได้ ๓ ประเภทคือ ดี ไม่ดี หรือเป็นกลาง ๆ โดยถือเอาเจตนาในการกระท� ำเป็นเครื่อง ก� ำหนด คนจะเป็นคนดี หรือเป็นคนเลว สุข ทุกข์ ความส� ำเร็จ ความล้มเหลวของชีวิตปัจจุบันและอนาคต ก็ขึ้นอยู่กับกรรมของตนเองดังที่ตรัสว่า “สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ และมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยเขาท� ำกรรมอันใดไว้ไม่ว่าบุญหรือบาปเขาย่อมได้รับผลของ กรรมนั้น กรรมย่อมจ� ำแนกสัตว์ให้ทรามและประณีต” ๔๘ และดังที่ตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย ว่า “บุคคล หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้กระท� ำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้กระท� ำกรรมชั่ว ย่อมได้รับ ผลชั่ว” ๔๙ จึงเห็นได้ว่าแม้การถือฤกษ์ยาม และน�้ ำศักดิ์สิทธิ์ ก็ทรงปฏิวัติ โดยทรงเปลี่ยนแปลงระบอบ ของพราหมณ์ อย่างหน้ามือเป็นหลังมือในเรื่องพิธีบวงสรวงบูชาเพื่อพึ่งพาเทพเจ้านั้น พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เปลี่ยนจากการคิดได้ดีด้วยการพึ่งพาสิ่งภายนอกโดยการอ้อนวอนและด้วยการบวงสรวง มาเป็นการพึ่งตนเองดังที่ตรัสว่า “สิ่งที่น่าปรารถนารักใคร่เจริญใจ ๕ อย่างคือ อายุ ผิวพรรณ ยศ สุข สวรรค์ นั้น เราไม่กล่าวว่าจะได้มาด้วยเหตุความวิงวอน ปรารถนา เพราะถ้าจักได้เพราะความวิงวอน ปรารถนาแล้ว ใครเล่าจะขาดแคลนอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ใคร่จะได้สิ่งเหล่านั้นไม่ควรจะวิงวอน และเพลิดเพลินยินดีสิ่งเหล่านั้น อริยสาวกนั้นพึงปฏิบัติข้อปฏิบัติที่จะให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น... แม่ไก่ ไม่กกไข่ มีแต่ปรารถนาจะให้ลูกไก่ออกจากฟองอย่างเดียว ย่อมไม่ส� ำเร็จฉันใด ล� ำพังความปรารถนา จะท� ำให้จิตพ้นจากกิเลสอาสวะ ย่อมเป็นไปไม่ได้ฉันนั้น... เราเอาน�้ ำมันเทลงไปในน�้ ำแล้วจะอ้อนวอน ให้จมลงอย่างไร น�้ ำมันก็คงจะลอยขึ้นเหนือน�้ ำเสมอไป เราทิ้งก้อนหินลงในน�้ ำ แม้จะอ้อนวอนอย่างไร มันก็ไม่ลอยขึ้น คงจมลงไปส่วนเดียวฉันใด การท� ำความดีย่อมเป็นเหตุให้เฟื่องฟู การท� ำความชั่วย่อมเป็น เหตุให้ล่มจม เมื่อท� ำแล้วจะใช้วิธีอ้อนวอนให้เกิดผลตรงกันข้ามก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ฉันนั้น” ๕๐ จะเห็นแล้วว่า พระพุทธเจ้า ทรงปฏิวัติเรื่อง พรหมัน อาตมัน หรืออัตตา รวมทั้งการบูชายัญที่ชุ่มโชกเลือดชีวิตของ สัตว์อื่นพิธีเซ่นสรวงบูชา รวมทั้งการถือฤกษ์ยามน�้ ำศักดิ์สิทธิ์และการอ้อนวอน เป็นต้น ทรงปฏิเสธเรื่อง ศรุติ ความรู้ทิพย์จากการเปิดเผยของเทพเจ้า สรุปลงในหลักกาลามสูตร ๑๐ ประการคือ ๑) อย่าปลงใจ เชื่อด้วยการฟังตามกันมา ๒) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา ๓) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ ๔) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างต� ำราหรือคัมภีร์ ๕) อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรก ๖) อย่าปลงใจเชื่อเพราะ การอนุมาน ๗) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ๘) อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับ ๔๘ ม.อุ.๑๔/๕๗๙/๓๗๖; อัง.ทสก.๒๔/๒๘๗/ ๔๙ สํ ส.๑๕/๙๐๓/๓๓๓ ๕๐ สํ.สฬา. 18/231/323

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=