สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เดื อน ค� ำดี 99 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ศักดิ์สิทธิ์ แล้วกบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์น�้ ำทั้งปวงก็จักไปสวรรค์ได้เป็นแน่” ๔๗ แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุวัติตามความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้ความส� ำคัญแก่น�้ ำในแม่น�้ ำ ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเรื่องภายนอก แต่ให้ความหมายส� ำคัญกับความสะอาดด้านในคือจิตใจสะอาดด้วยศีลธรรม เป็นเครื่องอาบช� ำระพฤติกรรมทางกาย ทางวาจาให้บริสุทธิ์แทน การถือฤกษ์ยามนั้น พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธและทรงต� ำหนิว่า เป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ และ เสียเวลา เมื่อพราหมณ์คนหนึ่งทูลถามเรื่องนี้ จึงตรัสว่า “คนเขลามัวถือฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์ย่อม ล่วงเลยเขาไป ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์ ดาวทั้งหลายจักท� ำอะไรได้” แสดงให้เห็นว่าทรงปฏิเสธ การหาฤกษ์จากดวงดาว ไม่เอาประโยชน์ไปขึ้นอยู่กับดวงดาวซึ่งเป็นเรื่องภายนอก ทรงถือเอาความ สะดวกและความสุจริตเป็นที่ตั้ง ดังที่ตรัสว่า “สัตว์ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ในเวลาเช้า เช้าวันนั้น ย่อมเป็นเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ในเวลาเที่ยง เที่ยงวันนั้นย่อมเป็น เที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ในเวลาเย็น เย็นนั้นย่อมเป็นเย็นที่ดีของสัตว์ เหล่านั้น” ในเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่า การกระท� ำคุณงามความดีโดยไม่ต้องให้ชื่อว่าดี เพราะอาศัยเหตุ ภายนอกคือฤกษ์ยามหาก แต่ให้ท� ำดีที่กายวาจาและใจของตน ซึ่งเป็นการสร้างคุณความดีขึ้นเป็นพื้นฐาน เพื่อให้สิ่งอื่น ๆ ถูกจูงมาให้ดีไปตามด้วย ทรงสอนไม่ให้ถือฤกษ์ยามเป็นส� ำคัญแต่ให้ถือคุณงามความดี และประโยชน์ของชีวิตเป็นส� ำคัญ ท� ำคุณงามความดีในวันเวลาใด วันเวลานั้นก็กลายเป็นฤกษ์ดียามดี และเป็นตัวจูงให้เกิดความดีงามหรือความส� ำเร็จผลอื่น ๆ ตามมาทรงสอนให้เข้าใจความจริง ตามที่ เป็นจริง มิได้สอนแฝงความลึกลับที่พิสูจน์ไม่ได้ แต่ทรงสอนเรื่องที่คิด ไตร่ตรองตามเหตุผล และเห็นจริง ได้อย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือเป็นการสอนตัดตรงเข้าหาความจริง ให้สู้หน้ากับความจริง เช่น เรื่อง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วให้หาประโยชน์จากความจริงให้ได้ แม้ในเรื่องฤกษ์ยาม น�้ ำศักดิ์สิทธิ์ และ เรื่องเทพเจ้า ก็ทรงสอนให้เป็นเทวดาในชีวิตนี้โดยไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน ในเรื่องพรหมลิขิตก็เช่นเดียวกัน ที่พราหมณ์สอนว่าคนจะดีจะชั่วพระพรหมผู้สร้างโลกได้ลิขิตไว้เสร็จแล้ว รวมทั้งความสุข ความทุกข์ ความส� ำเร็จ หรือความล้มเหลวทั้งปวง กระทั่งความเป็นไปต่าง ๆ ในโลกนั้น พระพรหมก็ได้ก� ำหนดไว้แล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเสียใหม่อีกด้วยหลักกรรมเป็นกรรมลิขิต จึงได้ชื่อว่า เป็นกรรมวาที กิริยวาที และเป็นวิริยวาที นั้นก็เพราะทรงสอนว่ากรรมหรือการกระท� ำเป็นสิ่งที่ก่อให้ เกิดผล ความสัมพันธ์ระหว่างการกระท� ำกับผลของการกระท� ำ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล ผลจะมีลักษณะอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับเหตุคือกรรมหรือการกระท� ำนั้น ๆ ๔๗ ขุ.สุต.๒๖/๓๓๒/๔๗๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=