สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 98 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 หักรานประโยชน์คนอื่น คู่กับธรรมการพูดความจริง และศีลข้อที่ ๕ เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาท คู่กับธรรมความมีสติส� ำรวมระวัง พระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงเรื่องศีลเพื่อปราศจากการเบียดเบียนกันแล้ว ยังทรงแสดงหลักธรรม ใหม่ขึ้นในการท� ำความดีหรือบุญ (ยัญ) ไว้ ๑๐ ประการซึ่งตรงกันข้ามกับการบูชายัญในพระเวท เรียกบุญกิริยาวัตถุคือ ๑) ทานมัย บุญส� ำเร็จด้วยการให้ทาน ๒) สีลมัย บุญส� ำเร็จด้วยการรักษาศีล ๓) ภาวนามัย บุญส� ำเร็จด้วยการอบรมจิตใจให้สงบ และให้เกิดปัญญา ๔) อปจายนมัย บุญส� ำเร็จด้วย ความอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญ โดยชาติ โดยคุณวุฒิหรือโดยวัยตามความเหมาะสม ๕) เวยยาวัจจมัย บุญส� ำเร็จได้ด้วยการช่วยขวนขวายในการท� ำความดีของผู้อื่นหรือช่วยเป็นธุระออกแรงหรือออกความคิด ๖) ธัมมัสสวนมัย บุญส� ำเร็จด้วยการฟังธรรม ๗) ธัมมเทสนามัย บุญส� ำเร็จด้วยการแสดงธรรม ชี้แจง ธรรมให้ผู้อื่นฟัง ๘) ปัตติทานมัย บุญส� ำเร็จด้วยการแบ่งส่วนบุญแก่คนอื่น ๙) ปัตตานุโมทนามัย บุญ ส� ำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญของคนอื่นคือการพลอยยินดีในการท� ำคุณงามความดีของคนอื่น และ ๑๐) ทิฏฐุชุกรรม บุญส� ำเร็จด้วยการท� ำความคิดเห็นให้ถูกต้อง สรุปลงในการท� ำบุญ ๓ ระดับ คือ ทาน ศีล ภาวนา ๔๔ ในเรื่องแม่น�้ ำคงคาที่ว่าศักดิ์สิทธิ์ ลงอาบลอยบาป ท� ำให้เป็นผู้บริสุทธิ์จากบาปได้ตามที่พวก พราหมณ์สอนและเชื่อว่าน�้ ำในแม่น�้ ำคงคาไหลมาจากสวรรค์ผ่านเศียรของพระศิวะผู้เป็นเจ้าซึ่งช่วยให้ กระแสน�้ ำอ่อนลง มิฉะนั้นก็จะท่วมโลกเพราะน�้ ำนั้นไหลผ่านเศียรพระศิวะจึงกลายเป็นน�้ ำศักดิ์สิทธิ์ ล้างบาปได้ ท� ำให้ผู้อาบลอยบาปไปตามกระแสน�้ ำหรืออาบแล้วท� ำให้เป็นผู้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ พวกพราหมณ์ยังเชื่อว่าแม่น�้ ำในอินเดีย เช่น ยมุนา สรภู สรัสวตี นินนคา อจิรวตี และมหิ รวมทั่วชมพูทวีป อีกจ� ำนวนมาก เช่น พาหุกา คยา สุนทริกา สรัสสตี ปยาคะ แลพหุมตี รวมแม่น�้ ำเนรัญชราเข้าด้วย เชื่อว่า เป็นแม่น�้ ำศักดิ์สิทธิ์ที่พราหมณ์พากันไปอาบและดื่มกิน สาธยายมนตร์วันละ ๓ ครั้ง พราหมณ์ผู้ที่อยู่ หมู่บ้านไกล ยังน� ำน�้ ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น�้ ำนั้นกลับบ้านไปฝากคนป่วย คนชรา ลูกหลาน และเด็กเล็ก เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น�้ ำต่าง ๆ ดังกล่าว จึงตรัสตอบสุทริกภารทวาช พราหมณ์ว่า “ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงอาบน�้ ำในธรรมวินัย (พุทธศาสนา) นี้ จงท� ำความเกษมในสัตว์ ทั้งหลายถ้าท่านไม่กล่าวเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือของที่เจ้าของไม่ได้ให้ มีความเชื่อตามเหตุผล ไม่ตระหนี่ท่านจะไปแม่น�้ ำคยาท� ำอะไร แม้น�้ ำดื่มของท่านก็เป็นแม่น�้ ำคยาแล้ว” ๔๕ ใน พุทธอุทาน ก็ตรัสว่า “ความสะอาดย่อมไม่มีเพราะน�้ ำ ซึ่งคนส่วนมากพากันอาบผู้ใดมีสัจจะมีธรรมผู้นั้นเป็นผู้สะอาดเป็น พราหมณ์” ๔๖ และใน ปุณณิกเถรีภาษิต ก็กล่าวว่า “ถ้าบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้เพราะการรดน�้ ำ ๔๔ ที.อ.๓/๒๔๖:สังคห.๒๙ ๔๕ ม.มู. ๑๒/๓๒๓/๗๐ ๔๖ ขุ.ธ. ๒๕/๔๒๒/๒๑๓

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=