สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เดื อน ค� ำดี 97 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เทพเจ้า และดื่มน�้ ำศักดิ์สิทธิ์ เปลี่ยนเป็นการพูดจาไพเราะต่อกันหรือปิยวาจาต่อกัน และ ๗) นิรัคคฬะ การบูชายัญด้วยการฆ่าหมดทั้งคนและสัตว์ เปลี่ยนเป็นการปกครองแผ่นดินให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจาก โจรผู้ร้าย บ้านเรือนไม่ต้องลงลิ่มลงกลอนประตู ใน สังยุตตนิกาย แสดงหลักธรรมปฏิเสธ คัดค้านการ บูชายัญทั้งหลายเหล่านั้นว่า “มหายัญเหล่านี้คือ อัศวเมธะ โคเมธะ ราชสูยะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ และนิรัคคฬะ มีการเริ่มใหญ่ แต่ไม่มีผลมาก เพราะในยัญเหล่านั้น แพะ โค และสัตว์ต่าง ๆ ย่อมถูกฆ่า ท่านผู้ปฏิบัติชอบย่อมไม่เข้าสู่ยัญนั้น ส่วนยัญเหล่าใดที่ไม่มีการริเริ่มดังกล่าว เป็นยัญที่สืบสกุล มา แพะ แกะ และสัตว์ต่าง ๆ ย่อมไม่ถูกฆ่า ในยัญนั้นท่านผู้ประพฤติชอบ ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ย่อมเข้าไป สู่ยัญนั้น ผู้มีปัญญาควรบูชายัญชนิดนั้น ซึ่งมีผลมากเมื่อบูชายัญนั้น ก็มีแต่ความดีงาม ไม่มีต�่ ำทราม ยัญก็เป็นของไพบูลย์ และเทวดาทั้งหลายก็ชื่นชม” ๔๐ ใน ขุททกนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสปฏิเสธสิ่งที่ พราหมณ์ปฏิบัติในเวลานั้นว่า “การถือไม่กินปลาไม่กินเนื้อก็ดี การประพฤติเป็นชีเปลือยก็ดี ความมีศีรษะ โล้นก็ดีการมุ่นมวยผมเป็นชฎาก็ดี การอยู่คลุกฝุ่นธุลีก็ดี การนุ่งห่มหนังเสืออันหยาบกร้านก็ดี การบูชาไฟ ก็ดี การบ� ำเพ็ญพรตหมายจะเป็นเทวดาก็ดี การบ� ำเพ็ญตบะต่าง ๆ มากมายในโลกก็ดี พระเวทก็ดี การบวงสรวงสังเวยก็ดี การบูชายัญก็ดี การจ� ำพรตตามฤดูกาลก็ดี จะช� ำระสัตว์ผู้ข้ามยังไม่พ้นความสงสัย ให้บริสุทธิ์ได้ หาได้ไม่” ๔๑ มนุษยธรรม คือ เหตุผลในการห้ามฆ่าสัตว์เพราะหลักแห่งความเป็นมนุษย์ไม่นิยมการ เบียดเบียนกันหรือการฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าการเบียดเบียนสัตว์เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว ความโหดร้าย ทารุณ เป็นการเอาชีวิตคนอื่น สัตว์อื่นมาเป็นเครื่องมือ เป็นการเหยียบย�่ ำไปบนชีวิตเลือดเนื้อของคนอื่น สัตว์อื่น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้นึกถึงอกเขาอกเราว่า สรรพสัตว์ทุกตัวล้วนแต่รักตัวกลัวตายด้วยกันหมด ทั้งสิ้น จึงไม่ควรเบียดเบียนกัน ไม่ควรฆ่าเองหรือใช้ให้บุคคลอื่นฆ่า (อหิงสา) จากหลักการเอาใจเขามาใส่ใจ เราหรืออกเขาอกเรานี้เอง พระองค์จึงทรงบัญญัติ เบญจศีล ๔๒ และเบญจธรรม ๔๓ คือ ศีล ๕ และธรรม ๕ ซึ่งมนุษยธรรม เป็นหลักการเว้นความชั่วและการท� ำความดี เพื่อให้เกิดบูรณาการในการครองชีวิต ศีล หมายถึง การเว้นความชั่ว ธรรม หมายถึง การพัฒนาความดี แบ่งออกเป็นฝ่ายละ ๕ เป็นคู่ ๆ ดังนี้ ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์และมนุษย์ คู่กับธรรม ความมีเมตตาต่อสัตว์และมนุษย์ ศีลข้อที่ ๒ เว้น จากการลักทรัพย์ คู่กับธรรมการประกอบสัมมาชีพและมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ศีลข้อที่ ๓ เว้นจากความ ประพฤติผิดในกาม คู่กับธรรมความส� ำรวมในกามยินดีเฉพาะคู่ครองของตน ศีลข้อที่ ๔ เว้นจากการพูดปด ๔๐ สํ.ส.๑๕ /๓๖๕/๑๑๐ ๔๑ ขุ.สุ.๒๕/๓๑๕/๓๗๔ ๔๒ ที.ปา.๑๑/๒๘๖/๒๗๔ ๔๓ ม.มู.๑๒/๒๔๘๕/๕๒๓

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=