สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เดื อน ค� ำดี 95 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ฆ่าช้างบูชายัญในพิธีราชาภิเษก และ ๔) นรเมธะ ฆ่าคนที่มีลักษณะดีมีร่างกายไม่พิกลพิการ ไม่เป็นนักโทษ หรือเชลยบูชายัญสังเวยเทพเจ้า การฆ่ามนุษย์บูชาในข้อที่ ๔ ยกเว้นคนในวรรณะพราหมณ์และวรรณะ กษัตริย์ การบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์รวมทั้งการฆ่าคนบูชาสังเวยเทพเจ้านี้ ถือว่าเป็นยอดบุญและเป็นที่ ถูกใจเทพเจ้าอย่างยิ่ง ผู้บูชาจะได้บุญ และพ้นจากบาปทั้งหมดซึ่งเคยท� ำมาแล้วตั้งร้อยชั่วคนเฉพาะ พราหมณ์เท่านั้นมีสิทธิ์ในการบูชายัญชนิดนี้เพราะเป็นมหายัญ คนในวรรณะอื่นไม่มีสิทธิ์ ในเรื่องเหล่านี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงปฏิเสธด้วยการปฏิวัติการบูชายัญเสียใหม่โดยเสนอวิธีการ เรื่องแห่งการบูชายัญ เสียใหม่ อย่างตรงกันข้ามดังข้อความใน กูฏทันตสูตร กล่าวว่า “กูฏทันตพราหมณ์เตรียมประกอบยัญพิธี เอาโคผู้ ๗๐๐, ลูกโคผู้ ๗๐๐, ลูกโคเมีย ๗๐๐, แพะ ๗๐๐, แกะ ๗๐๐. ผูกติดไว้กับเสา เพื่อเตรียม บูชายัญ กูฏทันตพราหมณ์ กราบทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงอธิบายถึงยัญสัมปทา คือ สมบูรณ์แห่ง ยัญพิธี จึงทรงแนะน� ำว่า “ให้ปราบโจรผู้ร้ายก่อน แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีฆ่าหรือจองจ� ำ เพราะพวกที่เหลือจาก ถูกฆ่าก็เบียดเบียนชนบทในภายหลัง ตัวตายตัวแทน โดยที่แท้ควรถอนรากโจรผู้ร้ายด้วยวิธีจัดการ ทางเศรษฐกิจให้ดี คือแจกพืชแก่กสิกรในชนบทที่อุตสาหะประกอบอาชีพ ให้ทุนแก่พ่อค้าที่อุตสาหะ ในการค้า ให้อาหารและค่าจ้างแก่ข้าราชการ ท� ำให้ทุกคนมีอาชีพมีรายได้ทรัพย์ก็จะเพิ่มพูน ชนบทก็จะ ไม่มีเสี้ยนหนาม มนุษย์ทั้งหลายก็จะรื่นเริงอุ้มบุตรให้ฟ้อนอยู่ที่อก ไม่ต้องปิดประตูเรือน” เมื่อได้ฟัง หลักธรรมนี้แล้วเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสกเข้าถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต พร้อมทั้งประกาศให้อภัย แก่สัตว์ที่เตรียมฆ่าอย่างละ ๗๐๐ ตัวนั้น ด้วยค� ำว่า “ข้าพระพุทธเจ้าขอปล่อยสัตว์เหล่านั้น ให้ชีวิตสัตว์ เหล่านั้น ขอสัตว์เหล่านั้นจงกินหญ้าอันเขียวสด ดื่มน�้ ำอันเย็นสนิท และขอลมเย็นจงโชยมาต้องกายสัตว์ เหล่านั้นเถิด” ๓๖ พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงสั่งให้เตรียมการบูชายัญโดยใช้สัตว์คือโค ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว ผูกไว้กับเสาเพื่อฆ่าสังเวยเทพเจ้า และยังมีสัตว์และมนุษย์ที่เตรียมจะฆ่ามากประเภทด้วยกันมี ช้าง ม้า โคผู้ โคเมีย แพะ แกะ ไก่ สุกร เด็กหญิง และเด็กชาย แต่ละประเภทนับจ� ำนวนร้อย ใครที่เป็นญาติของเด็กเหล่านั้นก็คร�่ ำครวญร้องไห้ ในการที่จะสูญเสียบุตรหรือหลานของตนอย่างน่าเวทนายิ่ง พระนางมัลลิกา อัครมเหสี ไม่เห็นด้วยกับการนี้ จึงกราบทูลเชิญพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อพระเจ้าปัสเสนทิได้ไปเฝ้าสดับพระธรรม- เทศนาแล้วก็สั่งปล่อยสัตว์และคนที่เตรียมฆ่านั้นทั้งสิ้น ๓๗ ตามพุทธพจน์ที่น� ำมาแสดงนี้เป็นการชี้ให้เห็น ว่าการบูชายัญด้วยวิธีชุ่มโชกเลือดเป็นการเบียดเบียนและท� ำลายชีวิตผู้อื่น ซึ่งไม่อาจจะตอบค� ำถามที่ว่า ๓๖ ที.สี 9/153 /162 ๓๗ สํ.ส.15/ 231/ 109
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=