สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 94 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 โดยแท้ตรัสถามต่อไปว่า เมื่อเราบัญญัติสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นก� ำเนิดของโลกก็ตาม ไม่บัญญัติก็ตาม ธรรมที่เรา ได้แสดงเพื่อความมุ่งหมายใด จะน� ำออกไปเพื่อประโยชน์มุ่งหมายนั้นคือความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบ ได้ หรือไม่ ? สุนักขัตตะ กราบทูลว่าเมื่อพระองค์ ทรงบัญญัติ หรือไม่ทรงบัญญัติก็ตาม ธรรมที่พระองค์ทรง แสดงแล้ว ย่อมป็นไปเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมาย คือความสิ้นทุกข์โดยชอบได้” ๓๒ ใน ทีฆนิกาย ทรงแสดงเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ว่า เป็นอภิญญา คือความรู้ความสามารถพิเศษ ยวดยิ่งเรียกว่า อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ แต่เป็นโลกียอภิญญา เป็นวิสัยของปุถุชน ยังอยู่ในอ� ำนาจ ของกิเลสเช่นเดียวกับอภิญญาอื่น ๆ ทั้งหลายคือ หูทิพย์ ตาทิพย์ การรู้ใจคนอื่น และการระลึกชาติได้ โลกียอภิญญาทั้ง ๕ อย่างนี้ มีคนท� ำได้ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพรหมจรรย์ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแท้ของพุทธธรรม ที่เป็นตัวแท้ของพุทธธรรม คือความรู้ที่ท� ำให้ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เรียกว่าอาสวักขยญาณ ได้แก่ ญาณที่ท� ำอาสวะให้สิ้นไป ซึ่งเป็นอภิญญาข้อสุดท้ายคือข้อ ๖ เป็น โลกุตรอภิญญา บรรดาอิทธิปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ คืออิทธิปาฏิหาริย์ การแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ อาเทศนาปาฏิหาริย์ การทายใจคนอื่นได้ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือค� ำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริง และน� ำไปปฏิบัติได้ผล สมจริงนั้น พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าเป็นเลิศประเสริฐกว่า เป็นหลักสามารถ น� ำมาใช้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ประจักษ์ได้ภายในตนเองจนบรรลุถึงอาสวักขยญาณ อันเป็นจุดหมาย สูงสุด ๓๓ การที่พราหมณ์สอนให้ถือฤกษ์งามยามดีก็ทรงปฏิเสธ โดยการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงใหม่อย่าง ตรงกันข้ามด้วยหลักกรรมที่ว่าท� ำดีย่อมได้รับผลดี ท� ำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ดังที่ตรัสไว้ในสังยุตตนิกายว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้กระท� ำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้กระท� ำกรรมชั่วย่อม ได้รับผลชั่ว” ๓๔ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม คือ กรรมย่อมจ� ำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตต่างกัน ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ย่อมมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการกระท� ำของมนุษย์ทั้งสิ้น และว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลาเช้า เช้าวันนั้นย่อมเป็นเช้า ที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลากลางวัน กลางวันนั้นย่อมเป็น กลางวันที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลาเย็น เย็นวันนั้นย่อม เป็นเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น.” ๓๕ ในเรื่องการฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นการบูชาที่ชุ่มโชกเลือดที่พวกพราหมณ์ สอนว่าเป็นสุดยอดแห่งบุญมี ๔ ประเภทคือ ๑) อัศวเมธะ การฆ่าม้าที่มีลักษณะดีผ่านการคัดเลือกอย่าง ถี่ถ้วน มีอายุไม่น้อยกว่า ๓ ปี บูชาเทวดา ๒) โคเมธะ ฆ่าโคที่มีลักษณะดี ไม่มีต� ำหนิ บูชายัญ ๓) ราชสูยะ ๓๒ ที.ปา.๑๑/๒-๓/๒-๔ ๓๓ ที.สี ๙/๓๓๙-๓๒๔/๒๗๓-๖ ๓๔ สํ.ส.๕/๙๐๓/๓๓๓ ๓๕ สํ.ส.๕/๙๐๓/๓๔๓
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=