สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เดื อน ค� ำดี 93 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ แสวงหาที่พึ่งเข้าหาต้นไม้ เจดีย์ ภูเขา เป็นต้น เพื่อยึดถือเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นที่พึ่งเพียง ภายนอกที่ไม่เกษม ยังไม่เป็นที่พึ่งของภายในคือจิตใจยังพร่อง ยังกลัว แล้วสร้างที่พึ่งตามสัญชาตญาณเป็น ตัวตนมีรูปร่างตามจินตนาการที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยอายตนะไม่ได้ ให้เป็นสิ่งเป็นอัตตา หรือเทพเจ้า ขึ้นมาเพื่อบรรเทาความกลัวต้องเที่ยวหาสิ่งสังเวยภายนอกมาเป็นเครื่องบูชาเอาอกเอาใจ สิ่งทิพย์ที่ เรียกว่า เทพเจ้าประเภทต่าง ๆ ประจ� ำอยู่บนพื้นดินบ้าง บนอากาศบ้าง บนสวรรค์บ้าง หรือท้องฟ้าบ้าง ให้มีฤทธิ์มีเดชานุภาพ ให้โทษให้คุณได้ มนุษย์ปุถุชนจ� ำนวนมากตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันมี ความเชื่ออย่างนี้หวั่นเกรงต่ออ� ำนาจผีสางเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้ว สอนกันให้เชื่อถือสืบ ๆ ตามกันมานั้นกลายเป็นลัทธิบูชาเทพเจ้า การปฏิวัติความเชื่อและการยึดถือสิ่งเหล่านั้นเป็นการประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์และ เพื่อประโยชน์สุขแก่พหุชน ท่ามกลางเจ้าลัทธินานานิยมทั้งหลายดังที่ตรัสส่งภิกษุทั้งหลายออกประกาศ พรหมจรรย์ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไป ประกาศพรหมจรรย์ อันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พหุชน” ๓๑ ทรงวางหลักการต่าง ๆ ไว้บนพื้นฐานแห่งปัญญา ที่จะท� ำให้มนุษย์ได้รับผลดีในการเกี่ยวข้องกับเรื่องเหนือสามัญวิสัย โดยอย่างน้อยก็ไม่เสียเวลาที่จะวุ่นวาย อยู่กับปัญหาว่าสิ่งเหล่านั้นว่ามีจริงหรือไม่ กล่าวคือไม่สนใจกับค� ำถามว่า เทวดา อิทธิปาฏิหาริย์ มีจริง หรือไม่ ดังนั้นจึงทรงปฏิเสธอัพยากตปัญหา ทรงแสดงว่า มนุษย์ควรมีท่าทีและควรปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น อย่างไร ทรงสอนเรื่องเทพเจ้า เรื่องพรหมว่าเทวดาหรือเทพเจ้าตลอดจนถึงพรหมที่สูงที่สุด ล้วนเป็น เพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏเช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย และส่วนใหญ่ก็เป็น ปุถุชนยังมีกิเลสคล้ายมนุษย์ แม้ว่าจะมีเทพที่เป็นอริยบุคคลบ้าง ส่วนมากก็เป็นอริยบุคคลมาก่อนตั้งแต่ ครั้งเป็นมนุษย์ แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบโดยเฉลี่ยตามฐานะ เทพจะมีคุณธรรมสูงกว่า แต่ก็อยู่ในระดับ ใกล้เคียงกันคือในระดับสุคติด้วยกัน ดังที่ตรัสว่า “วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส” ความว่า มนุษย์ผู้มีวิชา และจรณะพร้อมย่อมประเสริฐกว่าเทพ ดังนั้น การปฏิบัติตามหลักการและการเข้าถึง จุดหมายคือการดับทุกข์ ย่อมเป็นไปได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือสามัญวิสัย คือทั้งเรื่องเทพเจ้า และอิทธิปาฏิหาริย์นั้นแต่ประการใดเลย ดังที่ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอเข้าใจว่าอย่างไร เมื่อเรา ท� ำปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมของมนุษย์ยิ่งยวดก็ตาม ไม่ท� ำก็ตาม ธรรมที่เราได้แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ ที่มุ่งหมายใด จะน� ำออกไปเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบได้หรือไม่ ? สุนักขัตตะ กราบทูลว่า ธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์คือความสิ้นทุกข์ ๓๑ วินย.มหา.๔/๒๕/๒๕-๓๒/๒๘-๔๐
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=