สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปิยนาถ บุนนาค 3 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ นอกจากนี้ ทรงมีพระราชด� ำริว่า ราชอาณาจักรจะมีเสถียรภาพมั่นคงได้หากมีสมดุล ของฝ่ายพุทธจักรและฝ่ายอาณาจักรนั่นคือ ความสมดุลและเกื้อกูลกันของกิจการพระพุทธศาสนากับ การบริหารราชการแผ่นดิน กิจการฝ่ายพุทธจักรคือการพระพุทธศาสนานั้นต้องมีความบริสุทธิ์เที่ยงแท้ทั้งตัว พระธรรมวินัยและตัวบุคคลอันเป็นจักรกลในการบริหารพระพุทธศาสนาคือ พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธศาสนา จึงจะสามารถน้อมน� ำจิตใจของชนทุกชั้นในราชอาณาจักรและยึดโยงเข้ากับฝ่ายอาณาจักร คือชนทุกชั้นมี ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรภายใต้พระบวรพุทธศาสนา นอกจากนั้น พระพุทธศาสนายังเป็น สถาบันที่ท� ำหน้าที่ให้การศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ชนทุกชั้นในสังคม การศึกษานั้นยังเป็นกุญแจ ดอกส� ำคัญที่จะน� ำกุลบุตรไปสู่โอกาสในการเข้ารับราชการเพื่อเป็นจักรกลส่วนหนึ่งของฝ่ายอาณาจักรด้วย การสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นกระบวนการตรวจสอบความบริสุทธิ์เที่ยงแท้ของพระธรรมวินัยให้สามารถ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาได้ต่อไป การปฏิรูปสถาบันสงฆ์ด้วยการตรากฎพระสงฆ์ท� ำให้สามารถคัดกรอง เอาพระสงฆ์ผู้ย่อหย่อนในพระธรรมวินัยออกไป ยังผลให้เหลือเฉพาะพระสงฆ์ผู้มีความบริสุทธิ์เที่ยงแท้ เพื่อท� ำหน้าที่น� ำสังคมได้ต่อไป การแต่งคัมภีร์ไตรภูมิโลกยวินิจฉัยเป็นอีกกระบวนการหนึ่งในการสร้างศรัทธา และโลกทัศน์ของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา อันจะน� ำไปสู่การรู้จักบทบาทและความรับผิดชอบ ของแต่ละคนต่อสังคม กระบวนการทั้งหลายเหล่านี้มีวัตถุประสงค์อยู่ที่การสร้างความบริสุทธิ์เที่ยงแท้ให้ กับฝ่ายพุทธจักรเพื่อให้สามารถเป็นหลักแก่ฝ่ายอาณาจักรได้ ส่วนฝ่ายอาณาจักรคือการบริหารราชการแผ่นดินนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงสร้างเอกภาพและเสถียรภาพให้ฝ่ายอาณาจักรเป็นล� ำดับขั้น เริ่มจากการสร้างสิทธิธรรม ให้กับพระองค์เองในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงมีความชอบ ธรรมในการเป็นหลักเป็นประธานของการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการสร้างสิทธิธรรมให้องค์ พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์นั้นจะเห็นได้จากการสถาปนาพระบรมมหาราชวัง การเฉลิมพระยศ เจ้านาย การฟื้นฟูราชประเพณีและการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่แสดงสิทธิธรรมและบารมีของกษัตริย์ เช่น จัดท� ำต� ำราพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีพระบรมศพ และการสร้างเครื่องประกอบ พระบรมราชอิสริยยศราชูปโภคหมวดต่าง ๆ ต่อมาคือการวางโครงสร้างการปกครองบริหารราชการแผ่นดิน ที่ส� ำคัญคือ การบริหารราชการแผ่นดินที่ศูนย์กลางและการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค ซึ่งจ� ำต้อง มีหลักการส� ำคัญให้ยึดถือ น� ำไปสู่ความจ� ำเป็นในการช� ำระพระราชก� ำหนดกฎหมายให้บริสุทธิ์เที่ยงธรรม ได้แก่ การช� ำระกฎหมายตราสามดวง กฎหมายตราสามดวงหรือประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ มีความส� ำคัญต่อการวางรากฐานระบบ บริหารราชการแผ่นดิน ๒ ด้าน ด้านแรกคือ ความเป็นประมวลกฎหมายส� ำหรับการพิพากษาอรรถคดี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=