สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 80 การค� ำนวณหาเดือนที่มีอธิกมาส การก� ำหนดเดือนอธิกมาสในทางราชการได้เลือกเดือน ๘ เพื่อป้องกันความสับสน ( ลอย ชุนพงษ์ทอง, ๒๕๕๐ ) อย่างไรก็ตาม หากต้องการการท� ำปฏิทินให้ละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นพระราชด� ำริ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ทรงให้แนวคิดลักษณะนี้ไว้ในปฏิทินปักขคณนา ( ลอย ชุนพงษ์ทอง, ๒๕๕๓ ) โดยอาจแทรกเดือนอธิกมาสในเดือนใดก็ได้ เพื่อให้เที่ยงตรงต่อปรากฏการณ์ ดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ผู้เขียนเสนอการค� ำนวณเดือนอธิกมาส ตามสูตรต่อไปนี้ เดือนที่มีอธิกมาสมาก่อนหน้าคือเดือน M ตามสมการต่อไปนี้ แบบอ้างอิงดาวฤกษ์ M = INT(B + 1 - 12A s ) แบบอ้างอิงฤดูกาล M = INT( B + 1 - 12A t ) โดยที่ ● A s = MOD(Y + 0.1945238 + C s , 2.711891322) ● A t = MOD(Y+2.4143931 + C t , 2.7154255542) ● B = เดือนที่ต้องการเล็งให้ตรงกับระบบเดิมที่ทดเดือน ๘ ผู้เขียนเสนอว่า ในระบบอ้างอิง ดาวฤกษ์ ควรให้วันอาสาฬหบูชา (เดือน ๘) ตรงกับระบบเดิม ค่า B = ๘ ส่วนในระบบอ้างอิงฤดูกาล ควรให้วันวิสาขบูชา (เดือน ๖) ตรงกับระบบเดิม ค่า B = ๖ ● INT( ) เป็นฟังก์ชันหาส่วนที่เป็นจ� ำนวนเต็ม เช่น INT(12.6) = 12 ตัวอย่าง พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือ ค.ศ. ๒๐๑๕ ซึ่งพบก่อนหน้าว่า A = 0.25935 เดือนที่มีอธิกมาสมา คือ M = INT(8 + 1 - 12×0.25935) M = INT(5.8878) M = 5 การค� ำนวณหาปีอธิกมาสในระบบพลวัต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=