สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 77 ลอย ชุนพงษ์ทอง เมื่อค� ำนวณเปรียบเทียบผลการวางอธิกมาสของแบบสถิตกับแบบพลวัตแล้ว พบว่าให้ผลต่างกัน ๕ คู่ จากทั้งสิ้น ๒,๕๐๐ คู่ ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้ มีข้อสังเกตว่า ปีที่ให้ผลต่างกันนี้อยู่นอกคริสต์ศตวรรษที่ ๙-๓๘ ทั้งสิ้น (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๔๓) จึงสรุปได้ว่า วิธีทางแบบสถิตก็ยังใช้ได้ผลดีถึง ๓,๑๐๐ ปี การวางอธิกมาสระบบพลวัตแบบอ้างอิงฤดูกาล ในระบบสถิต อสมการเงื่อนไขของการวางอธิกมาสแบบอ้างอิงฤดูกาลที่ให้ค่าสอดคล้องกับการ วางอธิกมาสในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ คือ MOD(Y+2.4143931, 2.7154255542) < 1 เนื่องจากระยะของปีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าระยะของปีดาวฤกษ์ ตามสมการ mean tropical year (MTY) ของ McCarthy & Seidelmann (2009) MTY = 365.2421896698 − 6.15359×10 −6 T  − 7.29×10 −10 T 2  + 2.64×10 −10 T 3 โดยที่ T เป็น Julian centuries ของ ๓๖,๕๒๕ วัน วัดจากเที่ยงวันเวลาสากลของวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๒๐๐๐ เมื่อค� ำนวณค่า F ด้วยวิธีการเดียวกัน F = 1/(Sidereal year/Synodic month − 12) และเมื่อน� ำมาลงจุดเป็นกราฟ ให้ผลดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=