สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กวาวเครือ และดินโป่งเป็น ดินถนัน ถันสุธา นมพระธรณี ในนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ เนื้อหาค� ำกลอนในนิทานพระอภัยมณี ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของสุนทรภู่ และ บ้านเมืองไทยในยุคเปลี่ยนแปลง สมัยรัชกาลที่ ๑, ๒, ๓ เพราะได้รับอิทธิพลจากการทยอยเข้ามาของชนชาติ ตะวันตก สุนทรภู่จินตนาการให้ทั้งฝ่ายไทยและฝรั่งเดินทางผ่านโพ้นทะเลเข้าต่อสู้กัน แต่ในเค้าของปัญหา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างสุนทรภู่กับผู้หญิง และเหตุการณ์ในวังต่าง ๆ ที่สุนทรภู่เข้าไปเกี่ยวข้อง มีเรื่องของ เรือขนาดใหญ่มโหฬาร พาหนะวิเศษ ใช้เดินทางบนบกและอากาศ อาวุธยุโธปกรณ์น� ำสมัย เครื่องดนตรี ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ศาสนา วิชาการ ขนบธรรมเนียมประเพณี มีตัวละครมากมาย บ้างมีอ� ำนาจ เหนือธรรมชาติ มีเรื่องของการใช้ยาอายุวัฒนะ ที่เรียก “ ดินถนัน ” “ ถันสุธา ” “ นมพระธรณี ” ซึ่งมีคุณสมบัติ บ� ำรุงร่างกาย บ� ำบัดโรคได้หลากหลาย อีกทั้งช่วยยืดชีวิตให้ยืนยาว จากเรื่องราวที่เป็นชื่อ รูปร่าง สี ขนาด บริเวณที่เกิด อีกทั้งคุณสมบัติ ที่มีกล่าวอยู่ในนิทาน ผู้เขียนเทียบได้ว่า สิ่งนี้น่าจะเป็นหัวใต้ดินของไม้เถา ที่เรียกกันว่า “ กวาวเครือ ” มีชื่อทางวิชาการ ว่า Pueraria spp . (“ ถันสุธา ” “ นมพระธรณี ”) และ “ ดินโป่ง ” หรือ “ เกลือโป่ง ” (“ ดินถนัน ”, “ ดินถน� ำ ” หรือ “ น�้ ำนมศิลา ”) ผู้เขียนยังได้น� ำค� ำกลอนทั้งหมด ในนิทาน ที่เกี่ยวกับชื่อที่สุนทรภู่อ้างถึง มากล่าวไว้พร้อมกับคุณสมบัติของ “ กวาวเครือ ” ที่พบข้างซองยา ตามร้านของชาวบ้านทั่วไป เพื่อผู้อ่านจะได้ใช้เปรียบเทียบกัน มีความเป็นไปได้ที่ “ ผลภูสิทธิ์ ” ที่มีกล่าวอยู่ ในหนังสือแปลเรื่อง “ เลียดก๊ก ” ซึ่งสุนทรภู่คงได้อ่าน จนเกิดความคิดเอาสิ่งดังกล่าวมาแต่งไว้ในนิทานบ้าง ค� ำส� ำคัญ : นิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน, สุนทรภู่, ดินถนัน, ถันสุธา, นมพระธรณี, กวาวเครือ สุนทรภู่กับวิสัยการแต่งค� ำกลอนและเนื้อหานิทานพระอภัยมณี จากหลักฐานเหตุการณ์ต่อสู้กันครั้งแล้วครั้งเล่าในนิทาน “ พระอภัยมณีค� ำกลอน ” ที่สุนทรภู่แต่ง เป็นเวลารวมทั้งสิ้น ๒๒ ปีเต็ม คือ ตั้งแต่ปลายปีมะแม พ.ศ. ๒๓๖๖ ถึงเดือน ๔ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๘๘ ซึ่งเป็น ระหว่างปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และตลอดเวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยพระบาท วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=