สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ การค� ำนวณหาปีอธิกมาสในระบบพลวัต ลอย ชุนพงษ์ทอง* บทคัดย่อ ปฏิทินไทยเป็นแบบสุริยจันทรคติที่มีกฎเกณฑ์เคร่งครัดมาก ความซับซ้อนเกิดขึ้นเนื่องจาก จ� ำนวนวันของคาบเดือน synodic และคาบปี sidereal ไม่เป็นสัดส่วนที่เป็นจ� ำนวนเต็ม นอกจากนั้น จ� ำนวนวันในแต่ละเดือนไม่ใช่คงตัวในระยะยาว วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการหาฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่สามารถหาชนิดของปีที่มี ๑๒ เดือน (ปรกติมาส) และ ๑๓ เดือน (อธิกมาส) โดยเน้นไปที่การหาวิธีค� ำนวณเพื่อบ่งบอกปีอธิกมาส ในปฏิทินไทย นี่เป็นวิธีทางคณิตศาสตร์แรกที่ใช้แบบจ� ำลองพลวัตสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน ต่อปฏิทินที่ท� ำสืบต่อกันมาตามประเพณีนิยมให้น้อยที่ และสอดคล้องกับบันทึกการวางปีอธิกมาส ในประวัติศาสตร์อย่างสมบูรณ์ ค� ำส� ำคัญ : ปฏิทินไทย, การค� ำนวณหาปีอธิกมาส, แบบจ� ำลองพลวัต บทน� ำ นักค� ำนวณปฏิทินจ� ำนวนมากค� ำนวณปฏิทินได้ไม่กี่ร้อยปี เนื่องจากการค� ำนวณปฏิทินในหลัก พันปีต้องแก้ไขสูตรการค� ำนวณ เพราะค่าคงตัวทางดาราศาสตร์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะระยะห่างจาก ดวงจันทร์ถึงโลกค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้คาบจันทร์เพ็ญเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ผู้เขียนได้เคยเสนอวิธีปรับแก้ดิถีเสมือนจากระบบสถิตเป็นระบบพลวัตมาก่อนหน้านี้แล้ว ( ลอย ชุนพงษ์ทอง, ๒๕๕๑ ) ซึ่งส่งผลต่อการวางอธิกวารเมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การวางอธิกมาสแบบพลวัตมีความจ� ำเป็นน้อยกว่า จึงมิได้ศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมในขณะนั้น วัตถุประสงค์ของการวางอธิกมาส การวางอธิกมาสแบบอ้างอิงดาวฤกษ์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ๑ ปีปฏิทินไทยโดยเฉลี่ยมีจ� ำนวนวัน * ที่ปรึกษาการค� ำนวณปฏิทินหลวง ส� ำนักพระราชวัง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=