สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 69 วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล S. Marvel) ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (Illinois University) การทดลองครั้งนั้นเกี่ยวข้องกับการใช้แก๊สเอทิลีน ในปฏิกิริยาที่มีสารประกอบลิเทียมแอลคิล (lithium alkyl) ที่ความดันบรรยากาศ และ ๕๐ ปีต่อมา ใน ค.ศ. ๑๙๘๐ ศาสตราจารย์มาร์เวล ได้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อ ค.ศ. ๑๙๓๐ ว่า เป็นสิ่งที่แนะน� ำตัวเขา ให้รู้จักงานวิจัยเกี่ยวกับพอลิเมอร์เป็นครั้งแรก อนึ่ง เขาไม่ได้ติดตามเรื่องการสังเกตการณ์ครั้งนั้น เพราะไม่มี ใครคาดคิดว่า PE จะมีประโยชน์อะไร บางที near serendipity ก็เกิดกับพวกเราเกือบทุกคนด้วย มีค� ำพังเพยไทยที่กล่าวว่า “เหมือนไก่ได้พลอย” โดยที่ไก่เชื่อว่าพลอยไม่มีคุณค่าอะไรเพราะกินไม่ได้ สรุปแล้ว ปัจจัยส� ำคัญของความ ส� ำเร็จในการค้นพบสิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่คือความอยากรู้อยากเห็น จิตใจที่เตรียมพร้อม การท� ำงานหนักโดยไม่ หยุดยั้ง และการไม่หลับหูหลับตาเชื่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างที่ดีของการไม่หลับหูหลับตาเชื่อ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญคือกรณีของวิศวกรไฟฟ้าของบริษัท Shimadsu ในเมืองเกียวโตที่ไม่ได้เรียนจบ ปริญญาเอก มิสเตอร์โคอิชิ ทานากะ (Mr. Koichi Tanaka) (รูปที่ ๙) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีส� ำหรับ การพัฒนาวิธีการแปลกใหม่เพื่อวิเคราะห์โมเลกุลชีวภาพขนาดใหญ่มากด้วยวิธีแมสสเปกโทรเมตรี (mass spectrometry) ทานากะ ได้กล่าวในการบรรยายพิเศษที่มหาวิทยาลัยเกียวโตหลังจากที่ได้ข่าวว่าได้รางวัล โนเบลว่า “โชคดีที่ข้าพเจ้าไม่รู้จักกับผู้เชี่ยวชาญหรือศาสตราจารย์ทางชีววิทยาดีพอที่จะปรึกษาสอบถาม เกี่ยวกับสิ่งที่ข้าพเจ้าซึ่งเป็นวิศวกรไฟฟ้าพยายามจะท� ำเพื่อวิเคราะห์โมเลกุลชีวภาพขนาดใหญ่มาก ไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้าคงจะละทิ้งความคิด (โง่ ๆ ในสายตาผู้เชี่ยวชาญทางชีววิทยา) ที่ท� ำให้ได้รับรางวัล โนเบลของข้าพเจ้าไปแล้ว” รูปที่ ๙ Mr. Koichi Tanaka และภรรยา กับเหรียญรางวัลโนเบลที่ได้รับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=