สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 67 วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล (polymerization) ของแก๊สเอทิลีนซึ่งไม่สามารถใช้อธิบายว่าเหตุใดความดันของแก๊สทั้งหมดลดลง พวกเขาจึงสงสัยว่าน่าจะมีแก๊สรั่วที่ข้อต่อข้อใดข้อหนึ่งของชุดปฏิกรณ์ ความจริงความส� ำเร็จของการทดลอง ครั้งนั้นอยู่ที่การเติมเอทิลีนใหม่เข้าไปแทนที่ปริมาณที่รั่วออกจากถังปฏิกรณ์ ซึ่งโดยบังเอิญ เอทิลีนใหม่ มีตัวเร่งปฏิกิริยา คือ ออกซิเจนติดมาด้วยในปริมาณที่ถูกต้องตรงกับจ� ำนวนที่ต้องใช้เร่งปฏิกิริยาจนเกิดเป็น พอลิเมอร์ PE ในครั้งต่อ ๆ ไป สรุปแล้ว I.C.I. ค้นพบกระบวนการผลิตเอทิลีนโดยไม่ได้ตั้งใจและโดยบังเอิญ ที่มีออกซิเจนติดมาด้วยกับการเติมเอทิลีนใหม่ ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มขึ้น ได้เกิดความต้องการสายเคเบิลที่ยืดหยุ่นได้เพื่อหุ้มฉนวน กันคลื่นรบกวนที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงส� ำหรับใช้กับอุปกรณ์เรดาร์ภาคพื้นดินและบนเครื่องบิน ด้วยคุณภาพที่ยืดหยุ่นและดีเลิศในการกันคลื่นความถี่สูง PE จึงมีบทบาทส� ำคัญในการผลิตอุปกรณ์เรดาร์ ขนาดเล็กและน�้ ำหนักเบาส� ำหรับติดตั้งบนเครื่องบินเพื่อใช้ตรวจจับเรือด� ำน�้ ำขนาดจิ๋ว (U-boat) ของเยอรมนี โดยท� ำงานร่วมกับเรดาร์บนเรือพิฆาตซึ่ง PE ก็รับบทบาทส� ำคัญด้วย ผลก็คือฝ่ายพันธมิตรสามารถท� ำลาย เรือด� ำน�้ ำเยอรมันหลายร้อยล� ำภายในไม่กี่สัปดาห์ สรุปแล้ว PE แสดงบทบาทที่ขาดไม่ได้ในชัยชนะมากมาย หลายครั้ง (ของกองทัพพันธมิตร) ทั้งในอากาศ บนเรือ และบนบก ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งจ� ำต้องอาศัย เรดาร์สมรรถนะสูงและน�้ ำหนักเบา แน่นอนว่า PE เป็นวัสดุลับสุดยอดของฝ่ายพันธมิตรในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๒ แผ่นยึดติดด้วยแรงแตะ (ชื่อการค้าคือ velcro fasteners) ใช้ยึดสิ่งของ ๒ ชิ้นให้ติดแน่นได้โดยเพียงกดส่วนที่เป็นตะขอเกี่ยวกับส่วนที่เป็นห่วงคล้องเข้าด้วย กัน ดังในรูปที่ ๗ การค้นพบตัวยึดติดแบบเวลโคร (ชื่อย่อ VF ในที่นี้) เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของ วิศวกรไฟฟ้าที่ออกไปเดินเล่นในป่าละเมาะหลังอาหารเย็น เมื่อกลับเข้าบ้าน เขาพบว่า มีชิ้นส่วนของหญ้า เจ้าชู้ (bur) ติดแน่นบนขากางเกง เมื่อลองดึงออกมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เขาพบดังแสดงในรูปที่ ๘ ว่า มีตะขอตัวเล็ก ๆ จ� ำนวนมากปกคลุมผิวก้านหญ้าเจ้าชู้ซึ่งเกี่ยวติดแน่นกับเนื้อผ้าของขากางเกงที่ท� ำหน้าที่ คล้ายห่วงคล้อง สรุปแล้ว การพัฒนาออกแบบ VF เกิดจากการเลียนแบบกลไกธรรมชาติของหญ้าเจ้าชู้ที่ใช้ กระจายเมล็ดพันธุ์ การค้นพบนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญอย่างแท้จริง near serendipity (เกือบเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ) ที่น่าเสียดาย เป็นการค้นพบบางสิ่งที่มีคุณค่ามาก อาจจะโดยบังเอิญหรือโดยความพยายามอย่างมาก แต่ไม่ ตระหนักถึงศักยภาพที่มีคุณค่าของสิ่งดังกล่าว การค้นพบจึงถูกละเลยทอดทิ้งไป มีหลักฐานในรูปเอกสาร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=