สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 64 การค้นพบ blue LED (LED แสงสีน�้ ำเงิน) รูปที่ ๕ เป็นภาพของบุคคลที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. ๒๐๑๔ เมื่อ อามาโนะ (Amano) ยังเป็นนักศึกษาปีที่ ๔ ในห้องปฏิบัติการของอากาซากิ (Akasaki) ที่มหาวิทยาลัยนาโกยา อามาโนะประสบความส� ำเร็จในการตกผลึกและเลี้ยงผลึกของ gallium nitride (GaN) บนแผ่นฐานแซปไฟร์ (sapphire substrate) ซึ่งนับเป็นการค้นพบโดยบังเอิญประเภทหนึ่ง วันหนึ่งเตาเผาไฟฟ้าขัดข้องและ ไม่อาจท� ำให้ร้อนขึ้นไปถึงอุณหภูมิเดิมดังเคย (ตามที่ต้องการ) คือ ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส แต่ความร้อนของ เตาขึ้นได้เพียง ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส แทนที่จะคอยให้เตาซ่อมเสร็จก่อนแล้วจึงด� ำเนินการทดลองตกผลึก ครั้งต่อไป เขาตัดสินใจทดลองตกผลึกที่อุณหภูมิต�่ ำนี้โดยที่ไม่เคยคิดหรือวางแผนไว้ก่อน ผลก็คือเขาประสบ ความส� ำเร็จในการปลูกผลึกและค้นพบโครงสร้างที่เหมาะสมของผลึก GaN ซึ่งเป็นองค์ประกอบส� ำคัญสุด ของ LED แสงสีน�้ ำเงิน อามาโนะ กล่าวในการสัมภาษณ์หลังจากได้ข่าวว่าได้รับรางวัลโนเบลว่า เขาได้รับเแรงกระตุ้น บางส่วนในการกระท� ำดังกล่าวจากค� ำบอกเล่าของผู้ช่วยศาสตราจารย์ในห้องทดลองของเขาเกี่ยวกับการ ค้นพบโดยกึ่งบังเอิญของสารกึ่งตัวน� ำ (semiconductor) โดย ดร.เอซากิ (Dr. Esaki) ที่ได้รับรางวัลโนเบล เช่นกัน ดังที่ทราบกันดี นักวิจัยทั่วโลกในยุคนั้นมุ่งเน้นการใช้สารที่บริสุทธิ์ขึ้นเรื่อย ๆ ในการพยายามผลิต สารกึ่งตัวน� ำ แต่ไม่ประสบความส� ำเร็จ วันหนึ่งผู้ช่วยวิจัยในห้องทดลองของ ดร.เอซากิ ได้ตัดสินใจที่จะลอง ท� ำตรงกันข้ามกับแนวทางที่ถูกสั่งให้ท� ำมาโดยตลอด ด้วยการจงใจใส่สารเจือ (dopant) บางชนิดลงไปและ ก็ประสบความส� ำเร็จ เนื่องจากก่อนหน้านี้ อามาโนะ ไม่สามารถได้โครงสร้างผลึกที่ให้ผลดีหลังจากที่ท� ำการ ทดลอง รูปที่ ๕ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. ๒๐๑๔ จากซ้ายไปขวา : Prof. Isamu Akasaki อายุ ๘๕ ปี, Meijo Univ.; Prof. Hiroshi Amano อายุ ๖๐ ปี; Nagoya Univ.; Prof. Shuji Nakamura อายุ ๖๐ ปี; Univ. of California (UC) at Santa Babara การค้นพบโดยบังเอิญกับการค้นพบสิ่งส� ำคัญยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=